สีของเปลือกไข่มาจากไหน ?? CR: ผู้เชี่ยวชาญอาหารสัตว์ซีพีเอฟ

สีของเปลือกไข่มาจากไหน ??

ที่มารูปภาพ : https://www.chickens.allotment-garden.org/eggs/egg-shell-colour-breed-hen/

ถ้าจะพูดถึงเรื่องไข่รับรองได้ว่าไม่มีใครที่ไม่เคยทานไข่ ไม่ว่าจะเป็นไข่ไก่ ไข่เป็ด ไข่นกกระทา ซึ่งไข่ทั้ง 3 ชนิดนี้นอกจากเรื่องของขนาดฟองที่แตกต่างกันแล้ว เรื่องของสีเปลือกก็จะเห็นว่ามันต่างกัน  ในวันนี้เราจะมาทำความเข้าใจกันว่าสีของเปลือกไข่ไก่มันมาไหนแล้วมีปัจจัยอะไรบ้างที่ส่งผลกระทบต่อความเข้มของสีเปลือกไข่ไก่ที่เราเลี้ยงกัน

สีของเปลือกไข่ไก่จะขึ้นอยู่กับยีนส์หรือพันธุกรรมของแม่ไก่หรือเรียกง่ายๆว่ามันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ของแม่ไก่ นั้นเอง เช่น แม่ไก่สายพันธุ์เล็กฮอร์น (Leghorns)

ที่มา : https://www.efowl.com/product/white-leghorn-chickens/

ก็จะออกไข่ที่มีเปลือกเป็นสีขาวซึ่งเป็นสีของแคลเซียมคาร์บอเนตที่เป็นส่วนประกอบหลักของเปลือกไข่ ซึ่งไข่เปลือกสีขาวนี้เป็นที่นิยมบริโภคในประเทศอเมริกา และ

ประเทศแถบยุโรป

ส่วนในประเทศไทยนิยมบริโภคไข่ที่เปลือกเป็นสีน้ำตาล ซึ่งแม่ไก่สายพันธุ์ที่ออกไข่เปลือกสีน้ำตาลก็เช่น สายพันธุ์โร้ด ไอซ์แลนด์ เร็ด (Rhode Island Reds)

ที่มา : https://www.pinterest.com/pin/167899892327935917

โดยสีน้ำตาลที่เราเห็นบนเปลือกไข่ นั้นคือสารที่เรียกว่า โปรโต้พอร์ไฟริน (Protoporphyrin) ซึ่งได้จากการกระบานการแตกตัวของเม็ดเลือดแดงของแม่ไก่ เมื่อแม่ไก่สร้างเปลือกไข่ที่มีความแข็งเรียบร้อยแล้ว สารโปรโต้พอร์ไฟรินก็จะถูกปล่อยออกมาเคลือบที่ผิวของ

เปลือกไข่ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายของขบวนการสร้างเปลือกไข่ที่ใช้ต้องเวลาทั้งหมด 25-26 ชั่วโมงต่อการออกไข่ 1 ฟอง

นอกจากไข่ไก่ที่เปลือกเป็นสีขาวและสีน้ำตาลแล้ว ยังมีไข่ที่เปลือกเป็นสีฟ้าและสีเขียว ซึ่งเกิดจากสารคนละชนิดกันกับที่ใช้สร้างไข่เปลือกสีน้ำตาล

สำหรับปัจจัยที่ส่งผลต่อความเข้มของเปลือกไข่สีน้ำตาล ก็เช่น

1.สายพันธุ์ : ไก่บางสายพันธุ์ก็ให้ไข่ที่เปลือกออกสีน้ำตาลเข้มกว่าบางสายพันธุ์

2.อายุ : แม่ไก่ที่อายุน้อยกว่าก็จะให้ไข่ที่เปลือกสีน้ำตาลเข็มกว่าแม่ไก่ที่อายุเยอะ

3.สุขภาพ : แม่ไก่ที่สุขภาพสมบูรณ์ ไม่ป่วย เช่น โรคนิวคลาสเซิส (ND), โรคหลอดลมอักเสบ (IB) เป็นต้น หรือแม่ไก่ไม่ถูกรบกวนด้วยพยาธิภายในและภายนอก เช่น ไร เปลือกไข่ที่ออกมาก็จะมีสีน้ำตาลเข้มกว่าแม่ไก่ที่ป่วย หรือถูกทั้งพยาธิภายในและภายนอกรบกวน

4.ความเครียด :  เมื่อแม่ไก่ได้รับความเครียดอาจจะเกิดสภาพแวดล้อมภายในเล้า เช่น อากาศร้อน การระบายอากาศไม่มี มีแก๊สแอมโนเนียสะสมภายในเล้า ซึ่งจะส่งผลต่อสุขภาพและการกินอาหารได้ของแม่ไก่ทำให้มีผลต่อคุณภาพเปลือกไข่และความเข้มของสีเปลือกไข่ที่แม่ไก่สร้างขึ้นมาด้วย ดังจะเห็นได้ชัดเจนว่าไข่ที่ได้จากแม่ไก่ที่เลี้ยงในโรงเรือนปิด (Evapulative Cooling System) ความเข้มของสีเปลือกไข่ก็จะดูดีกว่าไข่ที่ได้จากแม่ไก่ที่เลี้ยงในเล้าเปิดที่มีโอกาสได้รับความเครียดมากกว่า   นอกจากปรับสภาพแวดล้อมภายในเล้าให้เหมาะสมต่อความต้องการของแม่ไก่แล้ว การเสริมไวตามิน ซี ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่จะช่วยแม่ไก่ลดความเครียดลงได้

5.อาหาร : เมื่อแม่ไก่ได้น้ำและอาหารที่มีความสมดุลของโภชนะครบถ้วนตามที่แม่ไก่ต้องการย่อมออกไข่ที่เปลือกสีสวยกว่าแม่ไก่ที่ได้รับน้ำและอาหารที่ไม่เพียงพอต่อความต้องการ การเสริมไวตามิน เช่น ไวตามิน อี, ไวตามิน ดี และแร่ธาตุบางตัว เช่น ธาตุเหล็ก, แมกนีเซียม เป็นต้น นอกจากแคลเซียมและฟอสฟอรัส ที่แม่ไก่ต้องไก่ต้องได้รับอย่างเพียงแล้ว ก็สามารถที่จะพอช่วยเรื่องคุณภาพและสีเปลือกไข่ได้บ้าง

สุดท้ายอยากฝากไว้ว่าไม่ว่าไข่ไก่เปลือกจะเป็นสีอะไร หรือเปลือกจะเป็นสีน้ำตาลอ่อนหรือน้ำตาลเข้ม คุณค่าทางโภชนการของสิ่งที่อยู่ภายใต้เปลือกที่เราเห็นของใขแต่ละฟองนั้น (ที่มีน้ำหนักเท่ากันนะครับ) ไม่ได้มีความแตกต่างกันเลยครับ

 

Share

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)