“แต่ละปีเรามีรายได้ราวๆ 7 แสนบาทจากการเลี้ยงหมูขุน 2 รุ่น ปัจจุบันเลี้ยงรุ่นละ 680 ตัว ทำให้มีเงินส่งลูกทั้ง 2 คนเรียนจนจบปริญญา ก็เพราะอาชีพเลี้ยงหมู วันนี้ยังวางแผนที่จะขยายฟาร์มให้กับลูกสาวคนโต เพราะเขาเห็นความสำเร็จของพ่อแม่ เราเชื่อว่าอาชีพนี้จะกลายเป็นมรดกให้ลูกๆได้อย่างแน่นอน”
วิถีชีวิตของ “จีระวรรณ -สง่า สอนพรม” เกษตรกรสองสามี-ภรรยา ชาวตำบลบ้านธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อ 17 ปีก่อน ไม่แตกต่างกับชาวบ้านในละแวกเดียวกัน เมื่อถึงหน้านาก็ทำนาปลูกข้าว พอหมดหน้านาก็ทำไร่ข้าวโพดปลูกมันสําปะหลังสลับกันไป ทำให้เขาและธอท้องสองมองหาช่องทางอีชีพใหม่ที่ดีกว่า บังเอิญได้พบเห็นเพื่อนที่ประสบผลสำเร็จจากอาชีพการเลี้ยงหมู่ ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย หรือคอนแทรคฟาร์มโครงการฝากเลี้ยงหมู กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มีรายได้ดี จึงได้ศึกษารายละเอียดและตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทันที ในนาม “จีระวรรณฟาร์ม” และมาประยุกต์การเลี้ยงหมูให้อารมณ์ดี ด้วยการเปิดเพลงให้หมูฟังทุกวัน
จีระวรรณ ย้อนอดีตก่อนตัดสินใจหันมาเลี้ยงในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับ ซีพีเอฟ ว่า เกิดจากความสำเร็จของเพื่อน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้ครอบครัวสนใจที่เลี้ยงหมูในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับ ซีพีเอฟ เพราะแต่ละปีการทำนามีได้รายปีละครั้ง ทำไร่เสริมอีกก็ได้เงินตามแต่ผลผลิตที่ได้มา แต่การเลี้ยงหมูจะมีรายได้ทั้งปี จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการเลี้ยงของตัวเอง จึงตัดสินเลือกอาชีพนี้ในนาม “จีระวรรณฟาร์ม” ตั้งแต่ปี 2545 ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย หรือคอนแทรคฟาร์มโครงการฝากเลี้ยงหมู กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ โดยเริ่มสร้างฟาร์มระบบปิด เลี้ยงหมูขุนจำนวน 500 ตัว ในโรงเรือนอีแวปตามมาตรฐานของบริษัท เธอบอกอย่างมั่นใจว่า แม้ว่าจะไม่เคยมีประสบการณ์ด้านการเลี้ยงสัตว์มาก่อนแต่ก็ไม่ใช่เรื่องยากที่จะเรียนรู้ เพราะในโครงการนี้มีทีมงานทั้งสัตวแพทย์และสัตวบาลของซีพีเอฟมาถ่ายทอดองค์ความรู้ ทั้งวิธีการเลี้ยง การจัดการฟาร์ม และการดูแลสุขภาพหมู เพื่อให้สามารถบริหารจัดการให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ทั้งยังพร้อมเปิดรับความรู้และวิชาการใหม่ๆที่บริษัทมอบให้อย่างต่อเนื่อง