โรคในระบบทางเดินหายใจ “สุกร” ที่เกษตรกรควรรู้

โรคทางเดินหายใจที่สำคัญในสุกร

  • ปอดสุกร แบ่งออกเป็น 7 กลีบ ด้านขวา 4 กลีบ ด้านซ้าย 3 กลีบ
  • ปอดสุกรปกติ เนื้อสัมผัสจะมีความยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ เนื่องจากมีอากาศในปอดนั่นเอง
  • ปอดอักเสบ เนื้อปอดจะแน่นและหนัก สีจะเข้มขึ้น บางครั้งก็มีจุดเลือดออก จับแล้วไม่ยืดหยุ่น คล้ายยาง บางครั้งเจอฝีหรือเนื้อตายที่ปอดด้วย
  • ปอดอักเสบจากแบคทีเรีย พบการอักเสบที่มีขอบเขตชัดเจน มักพบที่ปอดหน้าส่วนล่าง ปอดจะแข็งไม่ยืดหยุ่นเพราะมีพวกเซลล์อักเสบ สารคัดหลั่งหรือพวกหนองเข้ามาที่ทางเดินหายใจ ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปได้เต็มที่ พอตัดปอดมาลอยน้ำก็จะจม
  • ปอดอักเสบจากไวรัส พบการอักเสบกระจายทั่วไป เนื่องจากผนังถุลมหนาตัวและเกิดพิษในกระแสเลือด มีความหนาแน่นยืดหยุ่นคล้ายยาง

1.โรค PRRS (Porcine reproductive and respiratory syndrome, เพิร์ส)
ระยะฟักตัว

  • 5-16 วัน จะแสดงอาการทางระบบหายใจ
  • 1 สัปดาห์ ภาวะเจริญพันธุ์ล้มเหลว (ขี้นกับความรุนแรงของเชื้อไวรัส) (US/EU strain)

อาการ/รอยโรค

  • แม่พันธุ์ → แท้งระยะท้าย (90วันขึ้นไป,คลอดก่อนกำหนด, ลูกอ่อนแอ อัตราผสมติดต่ำ
  • พ่อพันธุ์ → ซึม เบื่ออาหาร ความกำหนัดลดลง คุณภาพน้ำเชื้อต่ำ
  • ลูกสุกร → หน้าบวมตาบวม บางตัวพบคราบสีน้ำตาลคล้ำที่บริเวณ ขอบตาคล้ายสาวๆ ที่เขียนขอบตา, มีไข้ หายใจลำบาก ไอถี่ๆ หายใจเร็วขึ้น,บางตัวหูม่วง ติดเชื้อแทรกซ้อนได้ง่าย

การติดต่อ ทางน้ำมูก, น้ำลาย,อุจจาระ,อากาศ ,น้ำเชื้อพ่อพันธุ์
การรักษา เนื่องจากเป็นเชื้อไวรัสจึงไม่มียารักษาเฉพาะ จึงใช้ได้เฉพาะฉีดยาลดไข้ + ยาปฏิชีวนะป้องกันจุลชีพแทรกซ้อนตามอาการ ปรับภูมิคุ้มกันในฟาร์ม
* HP Prrs (เพิร์สจีน) จะมีอาการไข้สูง ตัวแดงคั่งเหมือนเลือดคั่ง นอนสุมกัน อัตราการตายสูง

2.โรคไข้หวัดใหญ่สุกร, หวัดหมู (Swine influenza)
อัตราป่วยสูง อัตราการตายต่ำ ชนิดพบบ่อย H1N1, H1N2,H3N2 ระยะฟักตัว 1-7 วัน อาการ/รอยโรค มีไข้สูง (40-41 องศาเซลเซียส เบื่ออาหาร นอนสุม หายใจลำบาก ไอ จาม มีน้ำมูกใส ถ้าไม่ติดจุลชีพแทรกซ้อนก็จะหายได้ไว
การติดต่อ สัมผัสโดยตรง และ สิ่งคัดหลั่ง ทางอากาศ
การรักษา เป็นไวัรสจึงไม่มียารักษาจำเพาะ, ฉีดลดไข้ และยาปฏิชีวนะป้องกันจุลชีพแทรกซ้อน

3.โรค Porcine circo virus type2 (เซอร์โคไวรัส) เจอบ่อย สุกรอายุ 5-12 สัปดาห์
อาการ/รอยโรค ภาวะทรุดโทรมหลังหย่านม(PMWS) ผอมซูบ โทรม ท้องเสียร่วมกับหายใจลำบาก ตัวเหลือง ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วตัว บางตัวผิวหนังซีดจากเลือดจาง
อาการผิวหนังและไตอักเสบ (PDNS) พบตุ่มหรือปื้นแดง ขอบยกนูนไม่เรียบสีม่วงแดง ทั่วตัวโดยเฉพาะส่วนล่างและส่วนท้าย(สะโพก,ใต้ท้อง) แต่ในที่สุดจะค่อยๆซีดเหลือเป็นแผลเป็น ไตบวมใหญ่มีจุดขาว/จุดเลือดออกที่ผิวไต ตับเหลืองมีจุดเนื้อตายที่ตับ (ถ้าสุกรไม่ตายจะหายภายใน 7-10 วัน , ในแม่พันธุ์จะเกิดความล้มเหลวทางระบบสืบพันธุ์
การติดต่อ สัมผัสโดยตรง สิ่งคัดหลั่ง น้ำมูก อุจจาระ ปัสสาวะ
การรักษา เป็นไวรัสจึงไม่มียารักษาจำเพาะ แต่จะใช้ยาปฏิชีวนะ ( Amoxycillin, ไทอะมูลิน, CTC ) ในการป้องกันแบคทีเรียแทรกซ้อน เช่น พาสทูเรลล่า,แกลซเซอร์ ฯลฯ เชื้อไวรัสจะทำลายเม็ดเลือดขาวทำให้ติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนได้ง่าย

4.โรคติดเชื้อมัยโคพลาสมา (Mycoplasma spp.) ที่ก่อโรคในสุกร แบ่งออกเป็นที่เกิดจาก
1.ไมโคพลาสมา ไฮโอนิวโมนิเอ้ (Mycoplasma hyopneumoniae) ระยะฟักตัว 10-16 วัน อาการ/รอยโรค ไอแห้งนาน2-4 week ,ถ้าแบบรุนแรงจะผอมแห้ง มีไข้สูง หายใจลำบาก โตช้า พบบ่อยในหมูขุน 3-6 เดือน มีไข้ หายใจมีเสียง นอนหมอบคว่ำกับพื้น
รอยโรคถ้าผ่าซาก ปอดอักเสบเป็นสีเข้มที่ปอดพูหน้าด้านล่าง โรคนี้จะหายได้ในประมาณ 85 วัน ถ้าไม่โดนเชื้อตัวอื่นแทรกซ้อน
การติดต่อ สัมผัสหมูป่วย.สิ่งคัดหลัง, ทางอากาศ (ไปได้ 5 km)
จะรุนแรงถ้าติดร่วมกับเชื้ออื่นๆ เช่น PRRS,เซอร์โคไวรัส,เอพีพี,ไข้หวัดสุกร หรือที่เค้าเรียกกันว่า PRDC
การรักษา Tiamulin,Tylosin,Lincomycin,Doxyclicline
2. มัยโคพลาสมา ไฮโอไรนิส (เจอบ่อยหมู 3-10 week)
อาการ/รอยโรค อาการซึม,ขนหยาบ,ข้อบวมนิ่มไม่ร้อน เดินกระเผลก.หายใจลำบาก บางตัวเดินหูตกไปข้างใดข้างหนึ่ง รอยโรค มีหนองในข้อ, ถุงหุ้มหัวใจอักเสบ, เยื่อช่องอกช่องท้องอักเสบ,หนองไฟบรินปกคลุมเยื่อเลื่อม ช่องอกช่องท้องคล้ายสเตรปแกลสเซอร์
3.มัยโคพลาสมา ซินโนวิอี้ *(พบบ่อยหมู 12-24 week)
อาการ/รอยโรค เดินกระเผลก,ข้อบวม ไม่ค่อยมีผลต่อการเจริญเติบโตในระยะเฉียบพลันพบน้ำในข้อสีคล้ายน้ำล้างเนื้อ การรักษา คล้ายมัยโคพลาสมา ไฮโอนิวโมนิเอ้

5.โรคแกลสเซอร์ (พบอนุบาล-หมูขุน)
อาการ/รอยโรค มีไข้,ซึม เบื่ออาหาร ผอมโทรมขนหยาบ หายใจลำบากข้อบวม,มีน้ำมูกเกรอะกรัง,ชัก รอยโรคคล้าย มัยโคพลาสม่า ไฮโอไรนิสและสเตรปโตคอคคัส
การรักษา Amoxyciliin, Ceftiofur, Doxyclicline, เพนไดสเตรป

6.โรคติดเชื้อสเตรปโตคอคคัส (อนุบาล-หมูขุน)
อาการ/รอยโรค มีไข้ ข้อบวมแข็งและร้อน บางตัวพบหูแดง ผิวม่วง / ในเคสเฉียบพลัน จะตายโดยที่ไม่แสดงอาการทางคลินิคใดๆในตัวที่สมบูรณ์ ตัวเชื้อสามารถก่อให้เกิดภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด,ลิ้นหัวใจอักเสบ, เยื่อหุ้มสมองอักเสบแบบมีหนอง, ข้ออักเสบ, เยื่อเลื่อมช่องอกช่องท้องอักเสบแบบไฟบรินปนหนอง (รอยโรคคล้ายมัยโคพลาสม่า ไฮโอไรนิส แกลสเซอร์)
การรักษา Amoxycillin, เพนนิซิลิน, ไทอะมูลิน, Doxyclicline, Ceftiofur, CTC

7.โรคติดเชื้อพาสทูเรลล่า (มักเจอในหมูขุน) เกิดจาก เชื้อพาสทูเรลล่า มัลโตซิด้า ไทป์ A ปอดบวมปอดอักเสบ พาสทูเรลล่า มัลโตซิด้า ไทป์ D โรคโพรงจมูกฝ่อลีบ (โรค AR)
อาการ/รอยโรค ไอมีเสมหะ,หายใจกระแทกช่องอก อ้าปากหายใจ ในรายเฉียบพลัน มีไข้สูงและตายได้ รอยโรคที่ปอดจะพบปอดบวมที่พูหน้าด้านล่างคล้ายแบคทีเรียตัวอื่น เหนี่ยวนำให้เกิดเยื่อหุ้มปอดอักเสบแบบมีผังผืด (Fibrotic pleuritisทำให้ปอดติดช่องอกคล้ายโรค APP เกิดการฉีกขาดของเยื่อหุ้มปอดเมื่อดึงปอดออกจากช่องอก
การรักษา Amoxycillin, Tetracycline, Ceftiofur, Enrofloxacin, Tiamulin

8.โรค APP (เอพีพี)
การติดต่อ การหายใจ, การสัมผัสโดยตรง, สิ่งคัดหลั่ง อาการรุนแรงเฉียบพลัน จะตายใน12-36 ชม, อ้าปากหายใจ หายใจลำบาก มีฟองเลือดออกปากจมูก พบเนื้อตายที่ปอด ผิวหนังหรืออวัยวะส่วนปลายม่วงคล้ำ เฉียบพลัน ไข้สูงประมาณ 42 องศาเซลเซียส ไอเป็นจังหวะสั้น (2-3ครั้ง) หอบ หายใจลำบาก เรื้อรัง เป็นตัวอมโรคในฟาร์ม กินอาหารลดลง โตช้า หายใจกระแทก ไอจังหวะสั้น รอยโรค ปอดบวมมีไฟบรินหรือมีไฟบรินปนหนอง เยื่อหุ้มปอดอักเสบติดซี่โครง เนื้อปอดแดงคล้ำ พบฝีหรือก้อนเนื้อตายที่ปอด ส่วนใหญ่พบที่ด้านบนของปอดติดกระบังลม
การรักษา Amoxy,Tiamulin,Ceftiofur, ทิลมิโคซิน, ไทโลซิน ร่วมกับยาลดไข้ เช่น Phenylbutazone
ยาผสมอาหารแนะนำ Amoxycillin 300ppm, tilmicosin 300 ppm,Doxyclicline 300ppm หรือ Tiamuln 200ppm+CTC 450 ppm

ข้อมูลโดย : ปศุศาสตร์ นิวส์ http://pasusart.com/โรคในระบบทางเดินหายใจ

Share

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)