เกล็ดความรู้เกี่ยวกับหมู

เกล็ดความรู้เกี่ยวกับหมู

ประวัติการเลี้ยหมู

ประวัติการเลี้ยงหมู

หมูเป็นสัตว์เลี้ยงที่ให้เนื้อสำหรับมนุษย์ใช้บริโภคที่สำคัญมากประเภทหนึ่งและมีการเลี้ยงกันอยู่ทั่วไปทั้งนี้เพราะหมูเป็นสัตว์ที่เลี้ยงดูง่ายเนื่องจากกินอาหารได้สารพัดอย่างขยายพันธุ์ได้รวดเร็ว และที่สำคัญ คือ เนื้อหมูมีรสดี อ่อนนุ่ม น่ารับประทาน มีหลายประเทศทางแถบยุโรปและอเมริกาที่เลี้ยงหมูมากจนเป็นอุตสาหกรรมสามารถส่งเนื้อหมูเป็นสินค้าออกจำหน่ายต่างประเทศทำรายได้ให้ประเทศเหล่านั้นเป็นจำนวนมาก เนื้อหมูที่ส่งออกจำหน่ายมีทั้งที่เป็นเนื้อสดโดยแช่ไว้ในห้องแช่แข็งและเนื้อที่แปรรูปแล้ว เช่น เนื้อกระป๋อง แฮม เบคอน และไส้กรอก เป็นต้น สำหรับประเทศไทย เนื้อหมูนับว่าเป็นอาหารประเภทเนื้อสัตว์ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งเพราะประชาชนส่วนใหญ่นิยมบริโภคเนื้อหมูมากกว่าเนื้อสัตว์อื่น ๆ อาหารแทบทุกมื้อมักจะมีเนื้อหมูเป็นส่วนประกอบอยู่เสมอ ประวัติและวิวัฒนาการของหมู หมูเป็นสัตว์เลี้ยงที่มีความสัมพันธ์กับมนุษย์มาเป็นเวลาช้านาน มนุษย์ได้นำมาเลี้ยงตั้งแต่เมื่อใดไม่มีใครทราบเพียงแต่ทราบว่าได้นำมาเลี้ยงหลายพันปีมาแล้ว จีนเป็นประเทศแรกที่นำหมูมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง ต่อมาก็ คือ ประเทศอังกฤษ เชื่อกันว่าหมูพันธุ์ต่าง ๆ ที่เลี้ยงกันอยู่ในปัจจุบันรวมทั้งหมูพันธุ์พื้นเมืองของบ้านเรามีบรรพบุรุษมาจากหมูป่า ๒ พวก คือ หมูป่าทางแถบยุโรปพวกหนึ่งและอีกพวกหนึ่งเป็นหมูป่าแถบเอเชียตะวันออกและตะวันออกเฉียงใต้ วิวัฒนาการของหมูได้เจริญรอยตามความเจริญของมนุษย์มาเป็นเวลาช้านานดังนั้นลักษณะพันธุ์ของหมูจึงมักเปลี่ยนไปตามความต้องการของมนุษย์ ลักษณะของอาหารที่ใช้เลี้ยงต่อมาได้เป็นไปตามความประสงค์หรือความคิดของนักผสมพันธุ์ แหล่งผลิตหมูในโลก หมูเป็นสัตว์ที่กินอาหารทุกชนิดเราสามารถใช้ผลพลอยได้ของผลิตผลจากโรงงานและบ้านเรือนมาเลี้ยงหมูได้ เช่น กากถั่วเหลือง กากถั่วลิสง และเศษผัก เป็นต้น ดังนั้นในท้องที่ใดก็ตามซึ่งมีอาหารของมนุษย์เหลืออยู่เป็นจำนวนมากและมีราคาถูกหรือที่ที่มีผลพลอยได้ที่หาได้ง่ายและมีปริมาณค่อนข้างมากท้องที่นั้นก็จะมีการเลี้ยงหมูกันเป็นจำนวนมาก จำนวนหมูในท้องที่ใดท้องที่หนึ่ง ยังขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายประการ เช่น ภูมิอากาศในเขตพื้นที่แห้งแล้งของโลกจะมีหมูเป็นจำนวนน้อย ความเชื่อของสังคมและศาสนาก็เป็นอีกสาเหตุหนึ่งในประเทศที่มีพลเมืองนับถือศาสนาอิสลามเป็นส่วนใหญ่จะมีหมูเป็นจำนวนน้อยเพราะศาสนาอิสลามถือว่าหมูเป็นสัตว์ที่สกปรกจึงมีข้อบัญญัติห้ามเลี้ยง ห้ามแตะต้อง และห้ามรับประทานเนื้อหมู ชาวมุสลิมจึงไม่เลี้ยงหมู แหล่งข้อมูล ข้อมูลจากหนังสือสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน ฯ เล่ม 18 […]

ประวัติการเลี้ยงหมู Read More »

พันธุ์หมูในประเทศไทย

พันธุ์หมูในประเทศไทย ๑. หมูพันธุ์พื้นเมือง ๒. หมูพันธุ์ต่างประเทศ พันธุ์หมูในประเทศไทย ๑. หมูพันธุ์พื้นเมือง หมูพันธุ์พื้นเมืองปัจจุบันมีจำนวนค่อนข้างน้อยมากจะพบในบางท้องถิ่นเท่านั้นส่วนใหญ่มักจะได้รับการผสมพันธุ์จากหมูพันธุ์ต่างประเทศเนื่องจากไม่ได้รับการปรับปรุงหรือคัดเลือกให้เป็นหมูพันธุ์ที่ดี หมูพันธุ์พื้นเมืองจึงมีลักษณะและคุณสมบัติโดยทั่วไปเลวลง คือ มีขนาดเล็ก เติบโตช้า สามารถเปลี่ยนอาหารไปเป็นเนื้อได้น้อย คุณภาพค่อนข้างต่ำ คือ มีเนื้อแดงน้อยมันมาก ลำตัวสั้น หนังแอ่น สะโพกและไหล่เล็ก หมูพันธุ์พื้นเมืองแบ่งออกเป็นพันธุ์ต่าง ๆ ได้ดังนี้ ๑.๑ หมูพันธุ์ไหหลำ หมูพันธุ์นี้มีถิ่นกำเนิดทางตอนใต้ของประเทศจีนพบในภาคกลางและภาคใต้ของประเทศไทย ลำตัวมีสีขาวกับดำปนกัน สีดำมากในตอนหัว ไหล่ หลังและบั้นท้าย ส่วนตอนล่างของลำตัวมีสีขาว หมูพันธุ์ไหหลำมีหัวได้รูปงาม จมูกยาวและแอ่นเล็กน้อย คางย้อยและไหล่ใหญ่ ลำตัวยาวปานกลาง หลังแอ่น สะโพกเล็ก ขาและข้อเหนือกีบเท้าอ่อน หมูไหหลำเติบโตและสืบพันธุ์ ดีกว่าหมูพันธุ์พื้นเมืองอื่น ๆ ๑.๒ หมูพันธุ์ควาย พบเลี้ยงในภาคเหนือของประเทศไทย สีของหมูพันธุ์นี้คล้ายสีของหมูพันธุ์ไหหลำแต่ลำตัวมีสีดำเป็นส่วนใหญ่ จมูกของหมูพันธุ์ควายตรงกว่าและสั้นกว่าและมีรอยย่นมากกว่า ลำตัวเล็กกว่าหมูพันธุ์ไหหลำ ไหล่และสะโพกเล็ก ขาและข้อเหนือกีบเท้าอ่อน พ่อหมูพันธุ์ควายโตเต็มที่หนัก ๑๒๕-๑๕๐ กิโลกรัม แม่หมูหนัก ๑๐๐-๑๒๕ กิโลกรัม

พันธุ์หมูในประเทศไทย Read More »

การเลี้ยงหมู

หมูเป็นสัตว์เลี้ยงที่รู้จักกันดีมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า สุกร การเลี้ยงหมูมีมาเป็นเวลานานหลายพันปี ประเทศจีนเป็นชาติแรกที่เริ่มเลี้ยงหมูต่อมาได้แก่ ประเทศอังกฤษ ในปัจจุบันการเลี้ยงหมูมีแพร่หลายทั่วโลก หลายประเทศในแถบเอเซีย ยุโรป และอเมริกา ได้ปรับปรุงการเลี้ยงหมูจนได้ผลดีสามารถนำผลิตผลจากหมูมาเป็นสินค้าส่งออก ไส้กรอก แฮม เบคอน และอาหารกระป๋องอื่น ๆ ที่ทำจากเนื้อหมูเป็นที่นิยมรับประทานกันทั่วไป เนื้อหมูอุดมด้วยโปรตีนและไขมันมีประโยชน์ต่อร่างกายมากใช้ประกอบอาหารได้หลายชนิดเราควรทำให้สุกด้วยการลวก ต้ม หรือทอดก็ได้เพื่อป้องกันพยาธิที่อาจมีอยู่ในเนื้อหมูดิบ หมูเป็นสัตว์สี่เท้าที่นิยมเลี้ยงกันมากเพราะเลี้ยงง่ายโตเร็วและให้ลูกเร็ว หมูมีสีขนและรูปร่างลักษณะที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับชนิดของพันธุ์หมูที่นิยมเลี้ยงแต่ดั้งเดิมเป็นหมูพันธุ์พื้นเมืองส่วนใหญ่มีรูปร่างอ้วน เตี้ย สะโพกเล็ก หลังแอ่น และท้องยานลากดิน ลำตัวมีสีขาวและสีดำปนกัน หมูพันธุ์พื้นเมืองบางชนิดมีหนังหยาบและย่นเมื่อโตเต็มที่ชาวบ้านทั่วไปนิยมเลี้ยงหมูไว้ใต้ถุนบ้านหรือในบริเวณใกล้เคียง ปล่อยให้หมูอยู่บนลานดินหรือลานซีเมนต์มีบางบ้านเท่านั้นที่สร้างคอกให้หมูอยู่ การเลี้ยงเป็นแบบง่าย ๆ โดยเอาเศษอาหารต่าง ๆ ที่เหลือจากคนมารวมผสมให้หมูกิน หมูกินจุและกินอาหารไม่เลือกชนิดนอกจากนั้นผู้เลี้ยงยังใช้ผักที่หาได้ทั่วไป เช่น ผัก บุ้ง ผักตบชวา จอก แหน หรือหยวกกล้วยสับละเอียดผสมกับรำข้าวและน้ำเป็นอาหารให้หมูกิน เมื่อหมูโตจะนำไปขายฆ่าเพื่อเอาเนื้อเป็นอาหารหรือนำหมูตัวผู้และหมูตัวเมียมาผสมพันธุ์เพื่อให้มีลูกหมูมาเลี้ยงต่อไป ในปัจจุบันการเลี้ยงหมูก้าวหน้าไปจากเดิมมากมีการสั่งซื้อพันธุ์ต่างประเทศเข้ามาหลายพันธุ์ เช่น หมูพันธุ์แลนด์เรซที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศเดนมาร์กและหมูพันธุ์ลาร์จไวต์ที่มีถิ่นกำเนิดจากประเทศอังกฤษ เป็นต้น หมูพันธุ์ที่สั่งเข้ามาจากต่างประเทศได้รับความนิยมมากกว่าหมูพันธุ์พื้นเมืองเพราะมีรูปร่างลักษณะดีสามารถเพิ่มน้ำหนักได้เร็วกว่าหมูพันธุ์พื้นเมือง เนื้อมีไขมันน้อยขายได้ราคาดี วิธีการเลี้ยงและการผสมพันธุ์ได้รับการปรับปรุงขึ้นมาก มีการสร้างคอกและโรงเรือนให้หมูอยู่ โรงเรือนบางแห่งสร้างอยู่บนดินเทพื้นด้วยซีเมนต์โดยเทให้ลาดต่ำออกไปทางด้านหลังเพื่อสะดวกในการทำความสะอาดกวาดเก็บขี้หมู บางแห่งยกพื้นสูงช่วยให้อากาศถ่ายเทได้ดีเพื่อให้หมูสมบูรณ์แข็งแรงผู้เลี้ยงให้อาหารผสมที่มีคุณค่าและจัดให้หมูได้ฉีดวัคซีนตามกำหนดการคัดเลือกพันธุ์หมูที่ดีมาผสมทำให้ลูกหมูมีโอกาสรอดตายสูง การเลี้ยงหมูทุกวันนี้จึงเปลี่ยนจากการเลี้ยงแบบหลังบ้าน บ้านละ ๒-๓

การเลี้ยงหมู Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)