เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ โค

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ โค

“ไทยแบล็ค” โคขุนทางเลือกเนื้อระดับพรีเมียม

“โคเนื้อพันธุ์ไทยแบล็ค” (Thai Black) เป็นโคเนื้อที่มีการพัฒนาสายพันธุ์จากกรมปศุสัตว์ โดยใช้โคไทยหรือโคพื้นเมืองเป็นสายพันธุ์ตั้งต้น เนื่องจากสามารถปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศและวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศได้เป็นอย่างดี ผสมพันธุ์กับโคพันธุ์แองกัส ซึ่งเป็นโคที่มีอัตราการเติบโตเร็ว ไม่มีเขา คลอดง่าย ไขมันแทรกสูง เนื้อนุ่มและมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี โคไทยแบล็คจึงเป็นโคขนาดกลาง น้ำหนักขุนเต็มที่ตัวผู้ไม่เกิน 600 กิโลกรัม ตัวเมียไม่เกิน 500 กิโลกรัม เจริญเติบโตไว เนื้อเต็มและมีไขมันแทรกเร็ว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้จากพันธุกรรมของโคไทยและโคแองกัส ที่สำคัญประสิทธิภาพในการใช้อาหารจะดีกว่าโคสายพันธุ์อื่นๆ เพราะโคพื้นเมืองจะเหมาะกับสภาพภูมิอากาศหรือภูมิประเทศนั้นๆ และเหมาะกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ในพื้นที่นั้นด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นโคสายพันธุ์ใดก็ตามหากมีสายเลือดของโคไทยผสมอยู่ ส่วนใหญ่การขุนจะง่ายกว่าโคสายพันธุ์ต่างประเทศ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทยแบล็ค โคราช” ตั้งอยู่เลขที่ 500 หมู่ 7 ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ได้นำโครงการจากสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ผู้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อพันธุ์ไทยแบล็คมาต่อยอด และจัดตั้งกลุ่มฯขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความคิดเดียวกัน เลี้ยงโคเหมือนกัน และมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน คือ ผลิตเนื้อโคเกรดพรีเมียม เพื่อตอบสนองผู้ที่นิยมบริโภคเนื้อโค และมีตลาดรองรับ โดยใช้วิธีการเลี้ยงอย่างประณีตไม่ใช่การเลี้ยงแบบไล่ทุ่งเหมือนก่อนหน้านี้ และอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือ ผลิตเนื้อโคคุณภาพสูงและผู้เลี้ยงจะต้องมีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน บทบาทของกลุ่มฯ มีหน้าที่ให้ข้อมูล ความรู้ วิธีการเลี้ยงและการขุนที่จะทำให้ได้โคเนื้อที่มีคุณภาพ จัดหาแม่พันธุ์ …

“ไทยแบล็ค” โคขุนทางเลือกเนื้อระดับพรีเมียม Read More »

ทำเป็นเล่น! เลี้ยง ‘วัว-ควาย’ สร้างรายได้ปีละ 450,000 บาท

ฝูงวัวควายขนาดใหญ่กว่า 100 ตัว เดินเลาะตามริมห้วยเขื่อนบ้านสนวน โดยมีนายพอย ศักดิ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “คุณตาพอย” อายุ 65 ปี เดินต้อนกลับคอก เดินไล่ทุ่งมาเพียงลำพัง แต่สามารถคุมฝูงวัวควายฝูงใหญ่ได้อย่างน่าทึ่ง แต่ใครจะไปคิดว่าการเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเหล่านี้จะสร้างกำไรมากกว่าตอนที่ทำนา 4 เท่าตัว สร้างรายได้งามๆ ปีละ 450,000 บาท นายพอยเล่าว่า ตนเลี้ยงวัว-ควาย มาตั้งแต่อายุ14ปี ไม่ได้เรียนต่อ ยึดอาชีพเลี้ยงวัวควายมาตั้งแต่เด็กๆ ได้จากพ่อแม่ ให้วัว-ควาย มาสร้างตัว 10 ตัว ก็เลี้ยงมาเรื่อยๆ ยึดอาชีพเลี้ยงวัวควายเรื่อยมา พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ของหลวง ตนเห็นว่า เป็นป่ารกร้าง ทิ้งไว้จึงเข้าติดต่อขอเจ้าหน้าที่ ขอทำคอกวัวควายเล็กๆ เพราะเป็นพื้นที่ใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยเชิง บ้านสนวน จึงมีหญ้ามากมาย พอจะสร้างอาชีพได้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ อนุญาตให้มาเลี้ยงได้ ทุกวันเวลา 08.00น. จะขี่รถจักรยานยนต์มาจากหมู่บ้าน ระยะไป-กลับ 15กม. มาถึงคอกวัวเวลา 09.00น. จะปล่อยวัว ควาย แบบไล่ทุ่ง ให้ไปนอนเล่นแช่น้ำก่อนในห้วยก่อนทุกๆวัน …

ทำเป็นเล่น! เลี้ยง ‘วัว-ควาย’ สร้างรายได้ปีละ 450,000 บาท Read More »

ถุงน้ำในรังไข่ ปัญหาใหญ่ชาววัวนม

เอกสารอ้างอิง Bovine Medicine Diseases and Husbandry of Cattle, (Second edition) Edited by A.H. Andrews with R.W. Blowey H. Boyd R.G. Eddy , Blackwell LARGE ANIMAL INTERNAL MEDICINE, (forth edition), Bradford P. Smith, ELSEVIER น.สพ.ธัชเมธ เธียรวชิญกุ์ล และทีมนักวิชาการอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง (CPF)

คู่มือการเลี้ยงโคนม CPF

การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมาเป็นเวลานาน แต่การพัฒนาในด้านต่างๆ ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรูปแบบฟาร์ม การจัดการให้ผลผลิตน้ำนม คุณภาพน้ำนมดิบ ตลอดจนผลกำไร คู่มือประกอบอาชีพโคนมเล่มนี้เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และจากการสัมมนาวิชาการ ตลอดจนเอกสารวิชาการบางส่วนที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับอาชีพการเลี้ยงโคนมโดยตรง สำหรับฉบับเต็มสามารถกดดาวน์โหลด PDF ได้ที่นี่ : คู่มือการเลี้ยงโคนม CPF หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpffeed

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)