เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ โค

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ โค

ดาวน์โหลดคู่มือการเลี้ยงสัตว์

คู่มือการเลี้ยง จิ้งหรีด วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2015-06-23ประเภทไฟล์ : Brochure จิ้งหรีด ดาวน์โหลด โบรชัวร์การเลี้ยง แพะ วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2018-10-17ประเภทไฟล์ : โบชัวร์ คู่มือการเลี้ยงแพะ 08-แก้ไข.pdf ดาวน์โหลด คู่มือการเลี้ยง ไก่ไข่ วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2014-12-18ประเภทไฟล์ : คู่มือการเลี้ยงไก่ไข่ ดาวน์โหลด Brochure อาหารไก่ไข่ วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2014-12-18ประเภทไฟล์ : อาหารไก่ไข่ ดาวน์โหลด คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2014-12-18ประเภทไฟล์ : คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ ดาวน์โหลด คู่มือการเลี้ยงหมู วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2014-12-18ประเภทไฟล์ : คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่หมู และอาหารสุกร คู่มือหมู.pdfBrochure อาหารสุกร.pdfBrochure อาหารหมูสตาร์ฟีด.pdf

รมว.เกษตรฯ เปิดส่งเสริมเลี้ยงโคนม เน้นสู้ตลาดเสรีทางการค้า

รมว.เกษตรฯ เปิดโครงการส่งเสริมพัฒนาโคนมไทยฯ ที่ปราณบุรี ชี้เป็นอาชีพพระราชทาน ต้องให้เกิดความมั่นคง เกษตรกรอยู่ดีกินดี มีอำนาจการต่อรองทางการตลาดได้ วันที่ 27 กันยายน นายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการส่งเสริมและพัฒนาโคนมไทย ภายใต้กิจกรรมส่งเสริมและพัฒนาอาชีพด้านการเลี้ยงสัตว์ เพื่อเป็นทางเลือกให้เกษตรกร ที่ศาลาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา รัชกาลที่ 9 วัดหนองตาแต้ม อำเภอปราณบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยมี นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วย นายอำพันธุ์ เวฬุตันติ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายยุษฐิระ พัณฑุกุล ปศุสัตว์จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ นายภิรมย์ นิลยา รองผู้ว่าราชการจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ให้การต้อนรับ นายเฉลิมชัย กล่าวว่า อาชีพการเลี้ยงโคนมซึ่งเป็นอาชีพพระราชทาน จำเป็นต้องมีการพัฒนาเพื่อสร้างความเข้มแข็ง สามารถผลิตน้ำนมดิบที่มีคุณภาพ และนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์นมเพื่อใช้เป็นอาหารเสริมสำหรับเด็กนักเรียน ตามโครงการอาหารเสริมนมโรงเรียน ซึ่งจะช่วยให้เด็กนักเรียนมีสุขภาพที่สมบูรณ์แข็งแรง ในขณะเดียวกันเกษตรกรที่ประกอบอาชีพอื่นก็สามารถใช้เป็นทางเลือกอาชีพ เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบจากปัญหาภัยธรรมชาติและปัญหาด้านการเกษตรอื่นๆ ได้ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงมีนโยบายในการส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรมีความอยู่ดีกินดี โดยยึดหลัก “ตลาดนำการผลิต” “ผลผลิตมีคุณภาพตรงกับความต้องการของตลาด ทำให้ราคาสินค้ามีความแน่นอน สามารถแข่งขันกับการเปิดเสรีทางการค้าได้ ทำให้อาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์มีความมั่นคง สร้างรายได้มั่งคั่งและยั่งยืนในอนาคต อันจะเกิดความมั่นคงในอาชีพการเลี้ยงปศุสัตว์ …

รมว.เกษตรฯ เปิดส่งเสริมเลี้ยงโคนม เน้นสู้ตลาดเสรีทางการค้า Read More »

เกษตรกรยุคใหม่” เลี้ยงโคเนื้อแบบครบวงจร

คุณจำนงค์ จังอินทร์ หัวหน้ากลุ่มส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ ให้ข้อมูลว่า จังหวัดศรีสะเกษมีเกษตรกรผู้เลี้ยงโคมากกว่า 45,000 ราย มีจำนวนโคทั้งสิ้น ประมาณ 190,000 ตัว จึงถือเป็นแหล่งที่เลี้ยงโคมากเป็น อันดับ 2 ของประเทศ โดยส่วนใหญ่จะเลี้ยงแบบผลิตลูกที่ปล่อยตามหัวไร่ปลายนา และอีกบางส่วนเลี้ยงแบบยืนโรงหาอาหารให้กินตลอดจนเสริมด้วยอาหารข้น เพื่อสร้างเป็นโคขุนส่งขายเนื้อ “โคที่เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นลูกผสมชาร์โรเล่ส์กับบราห์มัน โดยปรับให้มีเลือดของชาร์โรเล่ส์สูงกว่าเป็นโครงสร้างของโคขุนที่ให้เนื้อมาก หรือเกษตรกรบางรายก็ชอบที่จะให้มีสายเลือดของบราห์มันมากกว่า ซึ่งแล้วแต่ว่าจะนำมาใช้ประโยชน์ด้านใด ซึ่งโดยทั่วไปเกษตรกรที่เน้นเลี้ยงขุนส่งขายเนื้อก็จะให้มีสายเลือดของชาร์โรเล่ส์มากกว่า แต่ต้องไม่เกิน 75 เปอร์เซ็นต์ ส่วนที่เหลืออีก 25 เปอร์เซ็นต์ จะเป็นบราห์มันหรือพื้นเมืองก็ได้ จึงนับว่าเป็นโอกาสทำรายได้ให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อได้เป็นอย่างดี” คุณจำนงค์ กล่าว คุณทองเตียง บริบาล อยู่บ้านเลขที่ 33 หมู่ที่ 5 ตำบลส้มป่อย อำเภอราษีไศล จังหวัดศรีสะเกษ เป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงโคอยู่ในจังหวัดศรีสะเกษ โดยเลี้ยงแบบครบวงจร คือ ทำการตลาดทั้งขายลูกพันธุ์และเลี้ยงเป็นโคขุนส่งขาย เรียกง่ายๆ ว่า เป็นงานที่สร้างเงินเลี้ยงครอบครัวได้เป็นอย่างดี จากเกษตรกรปลูกพืช ผันชีวิตทำปศุสัตว์ คุณทองเตียง เล่าให้ฟังว่า เริ่มแรกเดิมทีมีอาชีพทางด้านการทำนา ตลอดจนปลูกหอมเพื่อเป็นอาชีพของครอบครัว แต่เนื่องจากสินค้าเกษตรจำพวกพืชไม่สามารถกำหนดในเรื่องของราคาได้ จึงได้มีแนวคิดที่จะปรับเปลี่ยนมองหาสิ่งใหม่ๆ สร้างรายได้ให้มีเพิ่มมากขึ้น …

เกษตรกรยุคใหม่” เลี้ยงโคเนื้อแบบครบวงจร Read More »

วัวลูกผสมชาร์โรเล่ส์ ในพื้นที่ขาดแคลนหญ้าและน้ำ อยู่ได้โดยคุมสายเลือด

คุณทองสุข ประสบโชค ที่บ้านเลขที่ 32/1 หมู่ที่ 4 ตำบลสามร้อยยอด อำเภอสามร้อยยอด จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ คุณทองสุข เล่าว่า เริ่มต้นจากเลี้ยงวัวลาน หรือวัวพันธุ์ไทยที่มีอยู่หลายตัวมาปรับให้เป็นวัวเนื้อลูกผสม “ตัวผมเลี้ยงวัวมา 10 กว่าปี เริ่มต้นจากเลี้ยงวัวลานเพราะใจชอบแล้วขยายฝูงมาเรื่อยๆ จนมาถึงวันหนึ่งที่วัวลานไปต่อได้ยาก เพราะทางราชการมองว่าการเล่นวัวลานเป็นการเล่นการพนัน การจัดแข่งวัวลานจึงทำได้ยากลำบากขึ้น คนเลี้ยงวัวลานอย่างเราก็ไม่มีทางเลือก ไม่มีทางได้เอาวัวของเราไปวิ่งแข่งกันเหมือนเมื่อก่อน ราคาของวัวลานจึงตกลง เพราะเป็นวัวพันธุ์ไทยตัวเล็กจะขายเป็นเนื้อก็ลำบาก ผมเลยมาคิดว่าต้องปรับตัวให้การเลี้ยงวัวของเราไปรอด ผมเลยตั้งใจปรับพันธุ์ให้มีสายเลือดวัวเนื้อมากขึ้น” ปัญหาหญ้าน้อย น้ำเค็ม เมื่อตั้งใจจะปรับสายพันธุ์วัวที่มีให้มีสายเลือดวัวเนื้อมากขึ้น คุณทองสุขก็ต้องมานั่งคิดแก้ปัญหาที่มีในพื้นที่เลี้ยงวัวของตัวเอง เพราะพื้นที่ส่วนใหญ่ในเขตนี้เป็นพื้นที่ที่มีน้ำเค็ม เป็นพื้นที่ที่ขาดแคลนน้ำจืด ดังนั้น หญ้าตามธรรมชาติจึงมีน้อยโดยเฉพาะในฤดูแล้งที่หญ้าแทบจะหายไปทั้งหมด คุณทองสุข เล่าว่า “ผมก็มานั่งคิดว่าจะเลี้ยงวัวเนื้อพันธุ์ไหนดี เพราะพื้นที่ที่ผมเลี้ยงวัวเป็นพื้นที่สวนมะพร้าวที่ล้อมรอบด้วยน้ำเค็ม ตอนแรกผมคิดจะเอาวัวพันธุ์ลูกผสมบราห์มันมาเลี้ยง แต่คิดดูแล้วก็คงจะมีปัญหาแม้ว่าวัวลูกผสมบราห์มันจะทนร้อน ทนแล้งได้ดี แต่วัวพันธุ์ลูกผสมบราห์มันจะมีนิสัยไม่ชอบกินหญ้าสั้นๆ หญ้าชิดดินแบบหญ้าที่มีในพื้นที่ของผม สุดท้ายผมก็เลือกเลี้ยงพ่อวัวชาร์โรเล่ส์เลือดสูง เพื่อเอามาใช้ปรับสายเลือดวัวที่มีในฝูงให้มีสายเลือดชาร์โรเล่ส์มากขึ้น เพราะวัวสายเลือดชาร์โรเล่ส์ที่มีเลือดไม่สูงนักจะหากินเก่ง ทนร้อน กินหญ้าที่สั้นเตี้ยได้ ไม่เลือก ที่สำคัญราคาขายยังดีกว่าวัวลูกผสมพันธุ์อื่นๆ อีกด้วย” ด้วยความที่น้ำธรรมชาติที่มีในพื้นที่เลี้ยงวัวของคุณทองสุขเป็นน้ำเค็มทั้งหมด คุณทองสุขจึงต้องขนน้ำใส่รถมาให้วัวกินอย่างน้อยวันละครั้ง และต้องคอยดูให้มีน้ำในภาชนะให้วัวกินตลอดทั้งวันห้ามขาด เปลี่ยนพันธุ์เป็นเล่ส์ แต่ต้องระวังไม่ให้เลือดสูง แต่ด้วยสภาพพื้นที่ที่ร้อนและค่อนข้างแห้งแล้งซึ่งมีผลต่อการเลี้ยงวัวชาร์โรเล่ส์เลือดสูง คุณทองสุขจึงต้องระวังเรื่องสายเลือดชาร์โรเล่ส์ไม่ให้สูงเกินไป คุณทองสุข …

วัวลูกผสมชาร์โรเล่ส์ ในพื้นที่ขาดแคลนหญ้าและน้ำ อยู่ได้โดยคุมสายเลือด Read More »

เลี้ยงโคนม อาชีพพระราชทาน สร้างรายได้ยั่งยืน

อาชีพเลี้ยงโคนมนับเป็นเรื่องไกลตัวสำหรับชาวไทยในสมัยก่อนเพราะคนไทยไม่รู้จักโคนมและดื่มนมในปริมาณน้อยมาก แต่ถ้าพูดถึงในปัจจุบันแล้ว เรียกได้ว่าเป็นอีกหนึ่งอาชีพหลักที่มั่นคงของเกษตรกรไทยการเลี้ยงโคนมเป็นอาชีพที่เกิดจากพระอัจฉริยภาพของพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ที่ทำให้ประเทศในเขตร้อนสามารถเลี้ยงโคนมที่เป็นสัตว์เมืองหนาวได้ เหตุผลที่พระองค์ทรงพระราชทานอาชีพใหม่ให้แก่ปวงชนชาวไทยเพราะเล็งเห็นว่าอาชีพการเลี้ยงโคนมจะช่วยให้ชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่า ทั้งยังช่วยให้เกษตรกรไทยได้มีอาชีพที่มั่นคง เป็นหลักแหล่ง ไม่ต้องบุกรุกทำไร่เลื่อนลอยอีกต่อไป จากสายพระเนตรที่กว้างไกล และความห่วงใยราษฎรของพระองค์ในวันนั้น จึงทำให้เกษตรกรชาวไทยในวันนี้ได้มีอาชีพที่เลี้ยงตนเองและครอบครัวได้ ช่วยสร้างรายได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน รวมถึงพสกนิกรชาวไทยได้บริโภคอาหารที่มีคุณค่าอย่างนมโคอีกด้วย ในปัจจุบันเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมได้รวมกลุ่มกันดำเนินการในรูปแบบของสหกรณ์ ตามแนวพระราชดำริ ที่เกิดขึ้นในหลายพื้นที่ทั่วประเทศไทยที่ส่งผลในการผลักดันให้รัฐบาลและภาคเอกชนดำเนินการส่งเสริมการทำฟาร์มโคนมและเกิดการแปรรูปเป็อุตสาหกรรมนมครบวงจร จนกระทั้งเกิดการผลักดันของภาครัฐ เอกชน และเกษตรกรในการรณรงค์การบริโภคนม ทั้งในภาคการศึกษาของรัฐและตลาดผู้บริโภคทั่วไปจนทำให้ประเทศไทยเป็นประเทศที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในด้านการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม และการบริโภคนมของประชากร ด้วยพระมหากรุณาธิคุณ พระราชกรณียกิจ พระปรีชาสามารถ พระวิริยะอุตสาหะของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่9 ที่ทรงมีต่อกิจการโคนมไทย จึงทรงได้รับการน้อมเกล้าฯ ถวายพระราชสมัญญาว่า ‘พระบิดาแห่งการโคนมไทย’ มีเกษตรกรผู้ประกอบอาชีพเลี้ยงโคนมอยู่ในหลายจังหวัด โดยเฉพาะจังหวัดสระบุรีและจังหวัดใกล้เคียงอย่างนครราชสีมา นครปฐม ราชบุรี หรือกาญจนบุรี เนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม เกษตรกรหลายคนจึงเลือกอาชีพการเลี้ยงโคนมมาเป็นอาชีพหลัก รวมไปถึง คุณประเวช สุนทรวิภาต บ้านเลขที่183 หมู่ 9 บ้านหนองสามพราน ตำบลวังด้ง อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี (โทร. 09-2694-7566) เจ้าของ ‘อัสดงค์ฟาร์มโคนม’ ฟาร์มโคนมจากจังหวัดกาญจนบุรี ให้ข้อมูลว่า ก่อนจะเริ่มเลี้ยงโคนมทำไร่อ้อยและมันสำปะหลังมาก่อน จุดเริ่มต้นของการเลี้ยงโคนมมาจากลูกชายได้ข้อมูลมาจากหลาย ๆ แห่งว่าการเลี้ยงโคนมให้รายได้ดีและที่กาญจนบุรีสามารถเลี้ยงได้ บวกกับช่วงนั้นทางตำบลมีโครงการให้ทุนสนับสนุนอาชีพแต่ละหมู่บ้าน หมู่บ้านไหนมีโครงการมานำเสนอก็จะให้ทุนสนับสนุน จึงเกิดความสนใจและเลือกเลี้ยงโคนมอย่างไม่ลังเล …

เลี้ยงโคนม อาชีพพระราชทาน สร้างรายได้ยั่งยืน Read More »

โคบาลหนุ่มเมืองย่าโม จัดการฟาร์มแบบครบวงจร

“หากให้มองอาชีพเลี้ยงโคนม สำหรับผมเป็นอาชีพที่สร้างรายได้ที่ดีและตอบโจทย์มาก ทำแล้วมีความสุขได้ใช้ชีวิตอยู่ในฟาร์มนี่คือชีวิตที่ผมอยากให้เป็น ไม่เคยคิดเสียใจเลยที่เลือกมาทำอาชีพเลี้ยงโคนม…” คุณนคร กาบขุนทด เจ้าของฟาร์มโคนม “นคร ฟาร์ม” เมื่อเริ่มอิ่มตัวกับการทำงานในเมืองใหญ่ เชื่อว่าหลายคนคงเริ่มมองหาช่องทางในการประกอบอาชีพอื่น บ้างผันตัวทำธุรกิจส่วนตัว บ้างก็อยากกลับบ้านเกิดทำอาชีพเกษตรกร เช่นเดียวกับ คุณนคร กาบขุนทด โคบาลหนุ่มในวัย 38 ปี เจ้าของฟาร์มโคนม “นคร ฟาร์ม” ตั้งอยู่ที่ 414 ม.5 ตำบลตะเคียน อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา ที่ตัดสินใจทิ้งงานประจำมาจับอาชีพพระราชทานอย่างการเลี้ยงโคนมด้วยการจัดการฟาร์มแบบครบวงจรตามแนวคิดของเกษตรกรหัวก้าวหน้าจนสามารถสร้างรายได้หลักแสนบาท/เดือน ทิ้งงานประจำ… สร้างฟาร์มตามฝัน คุณนครเล่าถึงจุดเริ่มต้นของอาชีพโคบาลแห่งเมืองด่านขุนทดให้ฟังว่า ก่อนหน้านั้นตนเองทำงานเป็นช่างอิเล็กทรอนิกส์มากว่า 15 ปี พอเริ่มเกิดความอิ่มตัวและอยากกลับมาเป็นเกษตรกรที่บ้านเกิด จึงตัดสินใจเลือกเลี้ยงโคนมด้วยเหตุผลง่าย ๆ ณ ตอนนั้นว่า นี่คืออาชีพที่เท่ เจ้าของฟาร์มเหมือนเป็นโคบาลในหนังคาวบอย ภายหลังศึกษาข้อมูลการเลี้ยงผ่านอินเทอร์เน็ตจนได้จังหวะเหมาะก็หอบเงินเก็บทั้งหมดกว่า 600,000 บาท มาเริ่มต้นเลี้ยงโคนมอย่างจริงจังที่บ้านเกิด เริ่มจากการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหกรณ์โคนมด่านขุนทด จำกัด และเข้ารับการอบรมกับ อ.ส.ค. (องค์การส่งเสริมกิจการโคนมแห่งประเทศไทย) จากนั้นก็ทำคอกวัวทำเป็นเพิงพักหลบฝนหลบแดดและซื้อวัวนมสาวท้องสายพันธุ์โฮลส์ไตน์ฟรีเชียน หรือพันธุ์ขาว-ดำ มาทั้งหมด 7 ตัว “แต่การเลี้ยงโคนมในปีแรกไม่ได้เท่อย่างที่คิด ล้มลุกคลุกคลานเจอวิกฤติวัวป่วย สาเหตุหลักคือเรื่องอาหาร …

โคบาลหนุ่มเมืองย่าโม จัดการฟาร์มแบบครบวงจร Read More »

โคไล่ทุ่ง เน้นลงแรง ไม่เน้นลงเงิน

ตลาดของเนื้อโคนั้นมีอยู่ด้วยกันหลากหลายระดับ โคพื้นเมืองที่เลี้ยงด้วยวิถีดั้งเดิมหรือเลี้ยงแบบปล่อยทุ่งก็ยังเป็นที่ต้องการจำนวนมากเช่นกัน เกษตรกรหลายรายจึงยังยึดอาชีพเลี้ยงโคพื้นเมืองเลี้ยงปากท้องได้อย่างดี คุณสมพงษ์ เทียมเสวก อยู่บ้านเลขที่ 7/1 ตำบลบึงชำอ้อ อำเภอหนองเสือ จังหวัดปทุมธานี เป็นคนหนึ่งที่ยึดอาชีพการเลี้ยงโคพื้นเมืองที่ต้องกวาดต้อนพาฝูงโคออกหาอาหารมาตั้งแต่เมื่อ 13 ปีก่อน โดยเริ่มต้นจากการเลี้ยงโคเพียง 5 ตัวได้รับมอบจากทางราชการ ขณะที่เกษตรกรคนอื่นทยอยขายไปจนหมด แต่สมพงษ์เลี้ยงขายลูกโคเลี้ยงครอบครัวมาได้ สามารถส่งลูก ๆ เรียนจบได้ทั้งหมด และขยายฝูงจากโคเพียง 5 ตัวแรก สู่ฝูงโคพื้นเมืองใหญ่ที่สุดของอำเภอหนองเสือ คือ 65 ตัว (ในช่วงที่มากที่สุดมีถึง 80 ตัว) คุณสมพงษ์บอกว่า ตนเองนั้นเป็นคนหนองเสือโดยกำเนิด เดิมทีทำนาเหมือนเพื่อนบ้าน พอเขาหันมาทำสวนส้มก็ทำบ้าง ทำให้ไม่พ้นประสบปัญหาเรื่องโรคระบาดเหมือนคนอื่น ๆ จนเป็นหนึ่งในเกษตรกรที่เจ๊งจากสวนส้ม ระหว่างที่ครอบครัวกำลังยากลำบาก หนี้สินล้นพ้นตัวก็มีโครงการจากภาครัฐเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงโคพื้นเมือง และได้แจกจ่ายโคไทยบราห์มันที่ทางกรมปศุสัตว์พัฒนาขึ้น ให้ครอบครัวละ 1 ตัว ซึ่งที่บ้านของคุณสมพงษ์อยู่กันเป็นครอบครัวใหญ่ 5 ครอบครัว จึงได้โคมาเลี้ยงทั้งสิ้น 5 ตัว โดยคุณสมพงษ์ขอรับหน้าที่เลี้ยงทั้งหมด “ใจผมอยากเลี้ยงอยู่แล้ว แต่วัวตัวหนึ่งมีราคาสูงเกินที่เราจะซื้อหา เพราะก่อนหน้านี้ทำนาทำสวนก็เจ๊ง โชคดีมากที่ภาครัฐแจกโคให้และได้โคพันธุ์นี้มาเลี้ยง เพราะเลี้ยงง่าย …

โคไล่ทุ่ง เน้นลงแรง ไม่เน้นลงเงิน Read More »

ยกระดับสหกรณ์โคนมครบวงจรทั่วประเทศ

“ประภัตร” ตะลุยตรวจน้ำภาคเหนือ ย้ำยกระดับสหกรณ์โคนมครบวงจรทั่วประเทศ ดันศูนย์ข้าวฯ ทุกพื้นที่เพิ่มผลิตเมล็ดพันธุ์ดีให้เกษตรกรเข้าถึง หนุนขายข้าวบุกตลาดออนไลน์ แก้ความยากจนชาวนาทั่วประเทศหลายล้านคนได้สำเร็จ เมื่อวันที่ 1 ก.ย.นายประภัตร โพธสุธน รมช.เกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังลงพื้นที่ตรวจราชการจ.เชียงรายและ จ.เชียงใหม่ ไปยังเขื่อนแม่กวงอุดมธารา อ.ดอยสะเก็ด เพื่อรับฟังการรายงานสถานการณ์น้ำในเขื่อนแม่กวงอุดมธารา และการวางแผนการจัดสรรน้ำในช่วงฤดูฝนปี 2562 และดูงานสหกรณ์โคนมการเกษตรไชยปราการว่า สหกรณ์แห่งนี้มีความเข้มแข็ง มีการดำเนินงานและบริหารงานแบบครบวงจร ที่มีทั้งธุรกิจรวบรวมผลผลิต เงินฝาก สินเชื่อ จัดหาผลผลิตมาจำหน่าย แปรรูปอาหารสัตว์ การพัฒนาอาหารหยาบคุณภาพดี (feed center) เพื่อแก้ปัญหาการจัดการอาหารสำหรับโคนม เพื่อให้ได้ปริมาณน้ำนมดิบ และองค์ประกอบของน้ำนมดิบ ให้มีคุณภาพดี มีความสม่ำเสมอตลอดทั้งปี และยังมีโครงการธนาคารโคนมทดแทนฝูง เพื่อลดภาระการเลี้ยงลูกโคของเกษตรกร นอกจากนี้ยังเป็นสหกรณ์ที่มีคุณภาพน้ำนมดิบคุณภาพสูง และได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรสำหรับฟาร์มโคนม (GAP) ครบ 100 % รวมทั้งสิ้น 226 ฟาร์ม มีโคนมทั้งหมด 14,789 ตัว ปริมาณน้ำนมดิบ 84.134 ตันต่อวัน เป็นสหกรณ์ที่มีปริมาณน้ำนมดิบมากที่สุดในภาคเหนือ จะเป็นต้นแบบในการดำเนินงานของสหกรณ์โคนมทั่วประเทศ กำหนดเป็นแผนแม่บท ภายใต้ยุทธศาสตร์ของชาติ เพื่อรองรับการเปิดการค้าเสรี ในปี 2568 …

ยกระดับสหกรณ์โคนมครบวงจรทั่วประเทศ Read More »

คีตะ มิลค์ แบรนด์นมพาสเจอไรซ์ ของเกษตรกรรุ่นใหม่

จากการที่กลุ่มเกษตรกรโคนมในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม ประสบปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดในปี พ.ศ. 2512 และได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา จากพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนั้น นำมาซึ่งการก่อตั้งโรงงานนมผงและศูนย์รวมนมหนองโพ เพื่อรับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิก และเติบโต ก้าวหน้า จนกลายเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หนองโพ ที่มาพร้อมสโลแกน “นมสดหนองโพ นมโคแท้แท้” ในปัจจุบัน ระยะเวลาเกือบ 50 ปี นับแต่การก่อตั้งสหกรณ์ เกิดการเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น ครอบครัวเม่งผ่อง เป็นหนึ่งในครอบครัวสมาชิกเกษตรกรโคนมที่รับมรดกตกทอดทางอาชีพมาจากรุ่นปู่ ย่า จนปัจจุบันสืบทอดมาถึงรุ่นหลาน และดำเนินกิจการฟาร์มโคนมเข้าปีที่ 7 แล้ว คุณปฐมพร เม่งผ่อง หรือ แมน โคบาลหนุ่มวัย 30 ปี เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงโคนมว่า คุณปู่กับคุณย่าเป็นเกษตรกรฟาร์มโคนม สมาชิกรุ่นแรกๆ ของสหกรณ์ แต่รุ่นพ่อแม่ไม่ได้สืบสานต่อ หันไปรับราชการ พอมาถึงรุ่นเขา ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวัยมัธยมศึกษาตอนปลาย ปู่กับย่าได้ตัดสินใจเลิกทำฟาร์ม เพราะด้วยอายุที่มากขึ้นอาจทำไม่ไหว ด้วยความที่เขาได้ใกล้ชิด เรียนรู้ และช่วยปู่ย่าทำฟาร์มมาตั้งแต่เด็ก คุณแมนได้เกิดความมุ่งมั่นที่จะสานต่ออีกครั้ง “ผมบอกปู่กับย่าว่าขายโคนมไปได้ แต่คอก …

คีตะ มิลค์ แบรนด์นมพาสเจอไรซ์ ของเกษตรกรรุ่นใหม่ Read More »

ศรีภักดีฟาร์ม ฟาร์มสร้างชีวิต

“ผมนั้นเคยติดคุกอยู่ที่บางขวาง 13 ปี ข้อหาปล้นฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ช่วงที่อยู่ในเรือนจำได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร โดยเฉพาะการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นความตั้งใจว่า หากได้พ้นโทษออกมาจะมาเริ่มต้นชีวิตใหม่กับการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง” นายสุพันธ์ ศรีภักดี อยู่บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โทร. (087) 240-6827 บอกกล่าวถึงอดีตก่อนก้าวมาเป็นเกษตรกรในระดับ Smart Farmer ด้านปศุสัตว์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเบญจลักษ์ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ จากที่ต้องถูกจองจำอยู่เป็นเวลา 13 ปี เมื่อพ้นโทษออกมาในปี 2535 จึงเป็นปีแห่งเริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างเพื่อการผลิตตามโครงการของกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนของอำเภองานเกษตรอำเภอเบญจลักษ์ และเริ่มต้นทำฟาร์มภายใต้ชื่อ “ศรีภักดีฟาร์ม” บนพื้นที่ 24 ไร่ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2535 ด้วยความมุมานะพยายามในการประกอบอาชีพจึงทำให้ก้าวสู่ฟาร์มชั้นแนวหน้า มีกิจกรรมประกอบด้วย การเลี้ยงหมู 1,822 ตัว แยกเป็น แม่พันธุ์ 210 ตัว พ่อพันธุ์ 12 ตัว หมูขุน 1,600 ตัว วัวเนื้อ 444 …

ศรีภักดีฟาร์ม ฟาร์มสร้างชีวิต Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)