เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ เป็ด

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ เป็ด

ดาวน์โหลดคู่มือการเลี้ยงสัตว์

คู่มือการเลี้ยง จิ้งหรีด วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2015-06-23ประเภทไฟล์ : Brochure จิ้งหรีด ดาวน์โหลด โบรชัวร์การเลี้ยง แพะ วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2018-10-17ประเภทไฟล์ : โบชัวร์ คู่มือการเลี้ยงแพะ 08-แก้ไข.pdf ดาวน์โหลด คู่มือการเลี้ยง ไก่ไข่ วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2014-12-18ประเภทไฟล์ : คู่มือการเลี้ยงไก่ไข่ ดาวน์โหลด Brochure อาหารไก่ไข่ วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2014-12-18ประเภทไฟล์ : อาหารไก่ไข่ ดาวน์โหลด คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2014-12-18ประเภทไฟล์ : คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่ ดาวน์โหลด คู่มือการเลี้ยงหมู วันที่ปรับปรุงเอกสาร 2014-12-18ประเภทไฟล์ : คู่มือการเลี้ยงเป็ดไข่หมู และอาหารสุกร คู่มือหมู.pdfBrochure อาหารสุกร.pdfBrochure อาหารหมูสตาร์ฟีด.pdf

เป็ดไข่อารมณ์ดีคลองสามวา

พื้นที่แขวงทรายกองดินและทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่เกษตรกรรมชานเมือง เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำนา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาราคาข้าวค่อนข้างตกต่ำทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดน้อยลง ไม่เพียงต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน หลายรายจึงเริ่มมองหาอาชีพ ทั้งเพื่อเพิ่มรายได้และเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของครอบครัวและชุมชน คุณโสภา ชูชมชื่น เป็นหนึ่งในเกษตรกรเมืองกรุงฯ ที่มีความคิดดังกล่าว และเมื่อทางสำนักงานเกษตรพื้นที่ 1 เข้ามาสนับสนุนให้มีการทำอาชีพเสริม ภายใต้โครงการ “9101” คุณโสภาที่เดิมเคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงเป็ดไข่จึงรวมกลุ่มขอรับการสนับสนุนให้เกิดกลุ่มส่งเสริมเลี้ยงเป็ดไข่และการแปรรูปขึ้น โดยมีสมาชิกมาเข้าร่วมทั้งหมด 45 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้เลี้ยงเป็ดไข่กลุ่มละ 200 ตัว โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนทั้งแม่เป็ดไข่และการสร้างคอกโรงเรือนที่เหมาะสม “ที่พี่เลือกทำโครงการเลี้ยงเป็ดไข่ เพราะครั้งหนึ่งภาครัฐเคยมาสนับสนุน ตอนนั้นให้เลี้ยงครอบครัวละ 10 ตัว ซึ่งก็ได้ผลผลิตดี เลี้ยงได้เป็ดไม่ตาย อีกทั้งมีไข่ไว้บริโภค พอมีโครงการเข้ามาให้เกษตรกรรวมกลุ่มนำเสนอโครงการก็เลยชักชวนคนในชุมชนเลี้ยงเป็ดไข่ เพราะนอกจากรายได้เสริมจากการขายไข่สด ไข่เป็ดยังนำไปแปรรูปได้หลากหลายมากกว่าไข่ไก่ มีราคาดีกว่า และที่สำคัญที่เรามุ่งเน้นจริง ๆ คือการมีแหล่งอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือนก่อน เมื่อเหลือจึงขายและแปรรูป” การเลี้ยงเป็ดของทางกลุ่มฯ จะเริ่มจากซื้อแม่เป็ดไข่ “กากี แคมป์เบลล์” อายุประมาณ 4 เดือนครึ่ง ราคาตัวละ 160 บาท จากฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน มีการทำวัคซีนเรียบร้อยแล้ว นำมาเลี้ยงต่อประมาณ 1 เดือนก็จะเริ่มให้ผลผลิตไข่ได้ …

เป็ดไข่อารมณ์ดีคลองสามวา Read More »

เกษตรวัยใส จบนิติฯ ม.ดังหันเลี้ยงเป็ด ผลิตไข่เป็ดอารมณ์ดี

“จูน” ธนกัญพัชร ทิ้งโคตร นิติศาสตร์บัณฑิต จากรั้วมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง ตัดสินใจเลี้ยงเป็ดไข่และหันมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว โดยอาศัยที่ดินว่างเปล่าของครอบครัว เลขที่ 209 หมู่ 7 บ้านปากหมาก ต.ศรีสองรัก อ.เมือง จ.เลย เนรมิตเป็น “ไร่ธารธรรม” (โทร. 09-5586-2256) ทำเกษตรแบบผสมผสาน ยึดหลักความพอเพียงตามแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 จูนเล่าให้ฟังว่า ครั้งแรกที่ตัดสินใจมาทำเกษตรเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน เพราะตนเองเป็นลูกสาวคนเดียวจึงอยากกลับมาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวที่บ้านเกิดมากกว่าการเรียนต่อและทำงานใช้ชีวิตในเมือง จึงถูกตั้งคำถามจากหลาย ๆ คนว่าจะทำได้จริงหรือแค่สร้างภาพ พอลงมือทำก็ถูกมองว่าถ้าอย่างนั้นจะไปเสียเงินเสียทองเรียนทำไมตั้งแต่ต้น แม้แต่เพื่อน ๆ ยังคิดว่าคงทำเล่น ๆ ระหว่างรอสอบเนติบัณฑิตหรือเรียนต่อเท่านั้น “จูนโชคดีว่าที่บ้านให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ อย่างคุณพ่อจะตอบทุกคนอย่างภูมิใจว่า ลูกผมเป็นเกษตรกร เพราะคุณพ่อมองว่าการทำเกษตรยั่งยืนได้ และเราเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ไม่ได้แค่ผลิต แต่เป็นผู้ประกอบการไปในตัว” จูนบอกว่าจุดเปลี่ยนสำคัญคือช่วงใกล้เรียนจบนอกจากมีโอกาสไปเข้าค่ายธรรมะและไปศึกษาแนวทางการทำเกษตรกับ อาจารย์ยักษ์ “วิวัฒน์ ศัลยกำธร” พร้อม ๆ กับคุณแม่ ยังเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่คนไทยต่างโศกเศร้ากับการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 และมีการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตไปจนถึงการทำเกษตรอันเป็นมรดกสำคัญที่พระองค์ทิ้งไว้ให้ จูนจึงตัดสินใจหักเลี้ยวพวงมาลัย จากถนนที่มุ่งสู่อาชีพทนายมาเป็นเกษตรกรและสร้างไร่ธารธรรมขึ้น “พอตั้งใจที่จะทำเกษตร สิ่งแรกที่นึกถึงคือการเลี้ยงสัตว์ เพราะชอบการเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว และที่เลือกเป็ดไข่เพราะลองไปสำรวจตลาดในตัวอำเภอเมืองแล้วพบว่า ไม่มีไข่ที่รับมาจากเกษตรกรในจังหวัดเลย มีแต่มาจากขอนแก่นบ้าง …

เกษตรวัยใส จบนิติฯ ม.ดังหันเลี้ยงเป็ด ผลิตไข่เป็ดอารมณ์ดี Read More »

เป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ เลี้ยงง่าย 4-5 เดือน ให้ไข่ชุดแรกขายได้

เป็ดไข่ที่เลือกเลี้ยงนั้น คุณลัดดาวัลย์ บอกว่า เลือกเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำ เพราะเป็ดมีลักษณะขนออกสีดำ ส่วนหัวเขียวสวย มีความเงา จึงทำให้เธอรู้สึกชอบและหลงใหลจึงได้เลือกเลี้ยงเป็ดสายพันธุ์นี้ทั้งหมดประมาณ 3,000 กว่าตัวในเวลานี้ เมื่อตกลงปลงใจที่จะเลี้ยงเป็ดไข่อย่างจริงจัง จึงได้เตรียมพื้นที่บางส่วนที่มีอยู่เดิมมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการเลี้ยงเป็ด คือปรับให้เป็นพื้นที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยแบ่งภายในโรงเรือนให้มีคอกกั้นเป็น 3 เล้า เพื่อเลี้ยงเป็ดให้มีขนาดรุ่นที่แตกต่างกันไปประมาณ 3 รุ่นอายุ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไข่ขาดช่วง เพราะถ้าเป็ดไข่เป็นรุ่นเดียวกันมากเกินไป เวลาที่ไม่ออกไข่เหมือนกันทั้งหมด ก็จะทำให้เจอปัญหาไข่ไม่พอขายได้ จึงเป็นสิ่งที่จะกระทบในเรื่องของการตลาดได้ เพราะไม่สามารถขายได้ต่อเนื่อง “พอเราไปรับลูกเป็ดมาจากศูนย์วิจัยฯ ก็จะนำลูกเป็ดทั้งหมดมากก โดยตีกล่องสี่เหลี่ยมพร้อมเปิดไฟให้กับลูกเป็ด เอามากกประมาณ 7 วัน ก็ย้ายออกมาข้างนอก อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกเป็ดก็จะเป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีน 20 ขึ้นไป ที่ใช้เลี้ยงเป็ดไก่ทั่วไป จะช่วยทำให้โครงสร้างของเป็ดดีขึ้น” คุณลัดดาวัลย์ บอก จากนั้นนำลูกเป็ดไข่ที่เห็นว่าแข็งแรงดีแล้วออกจากที่กก มาใส่เลี้ยงในคอกที่เตรียมไว้ จากนั้นก็จะเปลี่ยนอาหารแบบเชิงประหยัดต้นทุน คือให้กินพวกรำข้าว ต้นกล้วยสับ แหน และหญ้าทั่วไปที่สามารถหาได้ตามท้องถิ่นมาให้กินวันละประมาณ 3 ครั้ง และจะมีการให้วิตามินบี 12 ผสมกับน้ำเสริมให้เป็ดกินด้วยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง เมื่อเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำได้อายุประมาณ 2 เดือน ก็จะสลับเล้าปล่อยให้ลงเล่นน้ำในสระที่เตรียมไว้ โดยจะไม่ขังให้อยู่ภายในเล้าเพียงอย่างเดียว …

เป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ เลี้ยงง่าย 4-5 เดือน ให้ไข่ชุดแรกขายได้ Read More »

คู่มือการเลี้ยง เป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์

ปัจจุบันการเลี้ยงเป็ดไข่ได้มีการพัฒนาไปมากทั้งในเรื่องของสายพันธ์ุ อาหาร วิธีการเลี้ยง ซึ่งผู้เลี้ยงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อให้สามารถเลี้ยงเป็ดไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะสายพันธ์ุ ซีพี ซุปเปอร์ ซึ่งเป็นเป็ดไข่ที่ได้รับการพัฒนาสายพันธ์ุให้มีรูปร่างที่ปาดเปรียว หากินเก่ง ไข่ดก โดยให้ไข่สะสมที่ 52 สัปดาห์สูงถึง 280-300* ฟองต่อตัวและทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วด้านคุณภาพไข่ให้ไข่น้ำหนักเฉลี่ย 72 กรัม* มีเปลือกไข่หนา และไข่แดงใหญ่ สำหรับฉบับเต็มสามารถกดดาวน์โหลด PDF ได้ที่นี่ : คู่มือการเลี้ยง เป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpffeed

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 12 ตอนจบ เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” บทสรุปประสิทธิภาพการเลี้ยงเป็ด

บทสรุปประสิทธิภาพการเลี้ยงเป็ด เรานำตัวเลขต่างๆจาก 16 ข้อมาลงในบทสรุปนี้ เพื่อวิเคราะห์กำไร ขาดทุนเบื้องต้น แนวทางการแก้ปัญหาการเลี้ยงเป็ดชุดต่อไป จำนวนเป็ดเริ่มเลี้ยง………..……… ตัว, อายุ……………. สัปดาห์, วันที่รับเป็ด………….………… ราคาเป็ดสาวตัวละ…………………บาท, วันที่ขายเป็ดปลด………………… ราคาเป็ดปลดตัวละ …………..บาท ซื้อจาก…………………….. อำเภอ……………….. จังหวัด………………….. จำนวนเป็ดเมื่อไข่ได้ 5 %(เฮ็นเฮ้า)……………….. ตัว จำนวนเป็ดเมื่อปลดขาย ……………… ตัว. ตัวละ………….. บาท อายุการไข่…………… สัปดาห์ , อายุจริง…………… สัปดาห์ %เสียหาย…………… % จำนวนไข่รวมทั้งสิ้น……………………… ฟอง จำนวนไข่ต่อเป็ด 1 ตัว………………….. ฟอง จำนวนอาหารที่ใช้ทั้งสิ้น……………….. กิโลกรัม จำนวนอาหาร ต่อ เป็ด 1 ตัว…………… กิโลกรัม ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นน้ำหนักไข่ 1 กิโลกรัม…กิโลกรัม ประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นไข่ 1 โหล……….. …

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 12 ตอนจบ เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” บทสรุปประสิทธิภาพการเลี้ยงเป็ด Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 11 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #9

ข้อ 15. จำนวนอาหารที่เปลี่ยนเป็นไข่ 1 โหล ข้อนี้จะคล้ายๆข้อ 14 เปลี่ยนจากน้ำหนักไข่เป็นจำนวนฟองไข่ เพื่อดูประสิทธิภาพการเปลี่ยนอาหารเป็นจำนวนไข่ ข้อนี้ผู้เลี้ยงไม่ต้องทำให้ ทีม ซีพี. จัดการให้และอธิบายให้ท่านฟังอีกครั้ง สูตร : จำนวนอาหารที่ให้เป็ดทั้งสัปดาห์(กิโลกรัม) / จำนวนไข่รวมทั้งสัปดาห์(ฟอง)x12 • จำนวนอาหารที่ให้เป็ดทั้งสัปดาห์ (ข้อ 10) • จำนวนไข่ที่เก็บได้ทั้งสัปดาห์ (ข้อ 6) แทนค่า. 1,050 / 5,600 x 12 = 2.25 กิโลกรัม อธิบายว่า ใช้อาหารไป 2.25 กิโลกรัม สามารถเปลี่ยนเป็นไข่ ได้ 12 ฟอง แสดงว่าไข่ 1 ฟองต้องใช้อาหาร (2.25 กิโลกรัม*1,000กรัม) / 12 ฟอง = 83.33 กรัม หรือคิดง่ายๆ อาหาร …

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 11 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #9 Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 10 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #8

ข้อที่ 14 จำนวนอาหารเปลี่ยนเป็นน้ำหนักไข่ ข้อนี้ท่านให้เป็นหน้าที่ของพนักงาน ซีพี. วิเคราะห์ให้ท่านทราบ เพื่อรู้ว่าเป็ดกินอาหารกี่กิโลกรัม เพื่อให้ได้น้ำหนักไข่ 1 กิโลกรัม สูตร : จำนวนอาหารที่ให้เป็ดทั้งสัปดาห์ (กิโลกรัม) / น้ำหนักไข่รวมทั้งสัปดาห์(กิโลกรัม) • จำนวนอาหารที่ให้เป็ดทั้งสัปดาห์ (ข้อ 10) อาหารที่ให้ตั้งแต่ วันอาทิตย์ ถึง วันเสาร์ เราให้อาหารไปทั้งสิ้นกี่กิโลกรัม • น้ำหนักไข่รวมทั้งสัปดาห์ คือ ปริมาณไข่ที่เก็บได้ทั้งสัปดาห์(ข้อ 6) คูณด้วย น้ำหนักไข่เฉลี่ย(ข้อ 13) สมมุติ เลี้ยงเป็ด 1,000 ตัว กินอาหารวันละ 150 กรัมต่อตัว หรือ 150 กิโลกรัมต่อวัน กิน7วัน เท่ากับ 1,050 กิโลกรัม และเป็ดให้ไข่ วันละ 800 ฟองต่อวัน ครบ 7 วัน ได้ไข่ 5,600 …

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 10 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #8 Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 9 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #7

ข้อ 13. น้ำหนักไข่เป็ด ข้อนี้ผู้เลี้ยงเป็นผู้จดนะครับ ให้ชั่งสัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1 ตั้ง(300ฟอง)ต่อเล้า และไข่ที่นำมาชั่ง ชั่งช่วงเช้าให้ชั่งช่วงเช้าตลอดไป ถ้าชั่งช่วงบ่ายให้ชั่งช่วงบ่ายตลอดไป แต่อนุโลมได้ที่จะผิดเวลาบ้าง เมื่อผู้เลี้ยงชั่ง 1 ตั้ง จะใช้ถาดไข่ 10 ถาด เมื่อชั่งแล้วให้หักน้ำหนักถาดออก ถาดไข่โดยทั่วไป หนักถาดละ 200 กรัม หรือ 2 กิโลกรัมต่อ 10 ถาด ผู้เลี้ยงทดลองชั่งน้ำหนักถาดของตัวเองนะครับ สมมุติ ชั่งน้ำหนักไข่ได้ 23 กิโลกรัมต่อตั้งให้หักน้ำหนักถาดไข่ 2 กิโลกรัม จะเหลือน้ำหนักไข่ 21 กิโลกรัม/300ฟอง *1,000 กรัม เท่ากับ 70 กรัมต่อฟอง นั่นคือน้ำหนักไข่เฉลี่ยของสัปดาห์นั้น เราจดบันทึก 70 กรัมต่อฟอง การสุ่มชั่งให้ยกขึ้นตาชั่งโดยไม่ต้องเลือก ตาชั่งควรเป็นตาชั่ง 30 กิโลกรัม ไข่ที่เก็บจากเล้าคละขนาดกันมาได้ยังไงก็ชั่งอย่างนั้น ข้อควรระวัง ถาดไข่ทุกถาดต้องมีไข่เต็มถาด ไข่สกปรกมาก …

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 9 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #7 Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 8 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #6

เราคุยกันต่อในข้อต่อไป ข้อ 10. จำนวนอาหารที่ให้เป็ดแต่ละวัน. ข้อนี้ผู้เลี้ยงต้องจดทุกวัน เช่น เช้านี้ให้ไปแล้วกี่ถุง รอบบ่ายกี่ถุง รอบเย็นกี่ถุง เพราะเป็นต้นทุนการผลิตที่มากที่สุด เราต้องละเอียดละออในการเทอาหารให้เป็ดกิน เทอาหารหกหล่นน้อยที่สุด คุณภาพอาหารที่เป็ดกินเข้าไปสามารถนำไปย่อยเป็นสารอาหารมากที่สุด การจัดการด้านอาหาร เทอาหารวันละครั้ง กับเทวันละ3ครั้ง มีความแตกต่างกัน เช่น ความสด ความหอม การกระตุ้นให้เป็ดกินอาหารก็ต่างกัน จำนวนอาหารที่ให้แต่ละวันก็ต้องมีการ คำนวน ประกอบกับข้อเท็จจริงที่เป็ดกินได้ สภาพอากาศมีส่วนสำคัญ มีรายละเอียดมากมายอธิบายไม่หมดแนะนำให้คุยกับผู้เชี่ยวชาญของเราครับ ข้อ 11. จำนวนอาหารเป็ดสะสม คือ ผลรวมอาหารที่เราให้เป็ดตั้งแต่วันแรกจนถึงปัจจุบัน ข้อนี้ เราทำให้ผู้เลี้ยงครับ ข้อ 12. จำนวนอาหารเป็ด ต่อ 100 ตัวต่อวัน ปริมาณอาหารต่อวัน ที่ผมกล่าวข้างต้น(ข้อ 10 ) เราให้อาหารมากน้อยในแต่ละวันควรให้วันละกี่กิโลกรัม อาหารเรากำหนดให้ 150 กรัมต่อตัวต่อวัน หรือเท่ากับ 15 กิโลกรัม ต่อ 100 ตัวต่อวัน เพื่อสะดวกในการดูบันทึก มีคำถามว่า …

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 8 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #6 Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)