เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ เป็ด

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับ เป็ด

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 7 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #5

ข้อ 8. จำนวนไข่สะสม หมายถึง ในเวลาการเลี้ยงเป็ด 1 ปีหรืออายุการไข่ 1-52 สัปดาห์ เป็ดให้ไข่ตั้งแต่เริ่มไข่จนถึงป้จจุบัน เล้านั้นได้กี่ฟอง ถ้าเลี้ยงดี ดูแลดี กินอาหารดีๆ ไม่มีโรคแทรก จะได้ไข่มาก เช่น ถ้าเลี้ยงเป็ด 1,000 ตัว บางฟาร์มเลี้ยงแล้วได้ไข่ 300,000 ฟอง บางฟาร์มได้ 250,000 ฟอง และถ้าฟาร์มใดปลดเป็ดทิ้งก่อน 1 ปี จะได้ไข่ 200,000 ฟอง ผู้เลี้ยงเป็ดคิดว่าการที่ความแตกต่างปริมาณไข่ แค่ 50,000 ฟอง คูณด้วยราคาขาย ฟองละ 3.60 บาท เงินหายไป 180,000 บาท ดังนั้น การจดบันทึกจะช่วยบอกเราว่าเราจะแก้ปัญหาระหว่างการเลี้ยงได้อย่างไร เพื่อให้ทันการณ์ก่อนที่จะเสียหายมากขึ้นครับ ข้อ 9. จำนวนไข่เป็ดสะสมต่อเป็ด 1 ตัว ก่อนที่จะจบปีเราจะวิเคราะห์ทุกสัปดาห์ ดูการเปลี่ยนแปลงทุกสัปดาห์ สูตร = […]

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 7 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #5 Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 6 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #4

“ไม่ยากอย่างที่คิด 6” หลังจากเรารับเป็ดเข้ามาเลี้ยง 1-2 สัปดาห์ ผู้เลี้ยงจะเห็นปริมาณไข่มากขึ้นทุกวัน ผู้เลี้ยงเริ่มจดตั้งแต่วันที่เก็บไข่ได้ นะครับ ข้อ 6. ปริมาณไข่เป็ดต่อวัน ผู้เลี้ยงต้องจดทุกวัน อย่าเบื่อนะครับ นั่นคือการนับเงินของเรา เมื่อไข่มีมากขึ้นจะนับไม่ถูกต้อง โดยให้ผู้เลี้ยงหรือคนงาน นับอย่างนี้นะครับ เก็บไข่ได้ กี่ตั้ง กี่ถาด กี่ฟอง เมื่อเก็บไข่จากเล้าแล้ว ก่อนจะส่งไข่ไปโรงเก็บไข่ ให้นับไข่ สมมุติว่า นับได้ 10ตั้ง(ตั้งละ10ถาด ถาดละ30ฟอง 1ตั้ง = 300ฟอง) 5ถาด 15ฟอง แสดงว่าเก็บไข่รอบแรกได้ไข่ 10ตั้ง(3,000ฟอง)+5ถาด(150ฟอง)+15ฟอง รวมแล้วเก็บไข่ได้ 3,165 ฟอง ผู้เลี้ยงบันทึกเป็น ตั้ง ถาด ฟอง แล้วค่อยรวมตอนเย็น วันนี้เก็บไข่ 2 ครั้ง ได้ทั้งหมด กี่ตั้ง กี่ถาด กี่ฟอง แล้วคำนวณเป็นจำนวนฟอง และจดบันทึกอย่าให้พลาดนะครับ ข้อนี้ผู้เลี้ยงต้องจดทุกวัน ข้อ 7.

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 6 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #4 Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 5 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #3

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 5 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #3 ข้อ 4. ปริมาณจำนวนเป็ดคงเหลือในเล้า หลังจากที่เราหักเป็ดตาย เป็ดคัดทิ้งไปแล้วจะมีเป็ดเหลือเท่าไร ข้อนี้มีความสำคัญอย่างไร เพื่อการคำนวณว่าเราจะให้อาหารเท่าไรต่อวัน ถ้าจำนวณเป็ดที่ผิดพลาดปริมาณอาหารที่ให้ก็จะผิดพลาดไปด้วย ถ้าให้อาหารมากไปก็สิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ เป็ดกินอาหารไม่หมด อาหารเก่าไม่หอม อาหารสกปรก ทำให้สุขภาพไม่ดี ถ้าให้อาหารน้อยไป ไข่ก็จะน้อย น้ำหนักไข่ก็น้อย เปลือกไข่ก็จะบาง และ อัตราไข่เป็ดต่อวันก็จะผิดพลาดด้วย ดังนั้นการจดบันทึกเป็ดตายและคัดทิ้งต้องถูกต้อง เราต้องมีการเช็คเป็ดคงเหลือในเล้าเป็นระยะๆ ให้รบกวนเป็ดน้อยที่สุด เช่น เช็คปริมาณเป็ดวันที่เราทำวัคซีนเป็ด สังเกตุอาหารเหลือหรือขาดในแต่ละวัน ถ้าเหลือซ้ำๆ 4-5 วัน เราอาจทดสอบโดยลดอาหารเป็ดแล้วดูว่าอาหารขาดหรือเหลือแล้วค่อยๆปรับปริมาณอาหาร จนกระทั่งกินวันละ 150 กรัมต่อตัว เทคนิคเหล่านี้ผู้เลี้ยงต้องให้ความสำคัญเพราะอาหารเป็น ต้นทุน 60-70% ของต้นทุนการผลิตไข่ ข้อ 5. % การตายและคัดทิ้งต่อสัปดาห์ คือการรวมจำนวนเป็ดตายและคัดทิ้ง สูตร = ผลรวมจำนวนตายและคัดทิ้งทั้งสัปดาห์ /จำนวนเป็ดสิ้นสุดสัปดาห์ที่แล้ว

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 5 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ #3 Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 4 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ 2

“ไม่ยากอย่างที่คิด 4” เราเรียนรู้การจดบันทึก เพื่อประโยชน์ของผู้เลี้ยงเป็ด เสมือนท่านกำลังขับรถยนต์ใช้ความเร็วเท่าไร ถ้ารถท่านที่วัดความเร็วเสีย ท่านจะอึดอัดมาก ลองขับรถยนต์แล้วเอากระดาษปิดที่วัดความเร็ว ท่านจะอึดอัดหรือไม่ การจดบันทึกก็เหมือนบอกให้รู้ว่า ขณะนี้ท่านใช้ความเร็วเท่าไร จะถึงจุดหมายปลายทางต้องใช้เวลาเท่าไรครับ ถ้างั้นเรามาต่อที่ข้อ 2,3 กันเลยครับ ข้อ2. วันสิ้นสุดสัปดาห์ หลักสากลจะใช้วันเสาร์ ดังนั้นเราจะสรุปประสิทธิภาพแต่ละสัปดาห์ หลังจากเรารวบรวมตัวเลข 4 อย่าง ตั้งแต่วันอาทิตย์ ถึง วันเสาร์ เราจะนำตัวเลขนี้วิเคราะห์ให้เป็น 16 ข้อ ข้อ 3. เป็ดตายและคัดทิ้ง ข้อนี้ผู้เลี้ยงเป็นผู้จดทุกวัน หลังจากรับเป็ดสาวเข้ามา ถ้าเป็ดตายให้ลงจำนวนตัวเลข ถ้าเป็ดคัดทิ้งให้ลงตัวเลขแล้ววงกลมไว้ ในช่องเดียวกัน เพื่อแยกให้รู้ว่าเป็ดตายหรือถูกคัดทิ้ง ทำให้การวินิจฉัยของผู้ส่งเสริมหรือสัตวแพทย์วิเคราะห์ได้ถูกต้อง เช่น เป็ดถูกสุนัขกัดตาย 5 ตัวก็ให้วงกลมเลข 5. สัตวแพทย์จะได้รู้ว่าไม่ใช่เกิดจากโรคจะได้ไม่ต้องให้ยาสิ้นเปลืองโดยใช่เหตุ หรือเป็ดขาอ่อน ขาหัก พิการ ให้วงกลมไว้นะครับ ส่วนเป็ดตาย เช่นอ่อนแอ ซึม อาการผิดปกติ เดินเอียงๆ เวลานอนเอาหัวซุกที่ปีก ไม่กินอาหารและน้ำ

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 4 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ 2 Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 3 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ 1

“ไม่ยากอย่างที่คิด 3” ฉบับนี้เราจะอธิบายความสำคัญ ทั้ง 16 อย่างที่ได้เขียนไว้แล้ว ข้อ 1. อายุจริงของเป็ด อายุการไข่ เมื่อเรารับเป็ดสาวเข้าฟาร์ม เราต้องถามผู้ขายพันธุ์เป็ดว่า เป็ดอายุจริงเท่าไร ข้อนี้เราจะตรวจสอบ และตั้งต้นการจดบันทึกที่ถูกต้องครับ “ไม่ยากอย่างที่คิด 3” ฉบับนี้เราจะอธิบายความสำคัญ ทั้ง 16 อย่างที่ได้เขียนไว้แล้ว ข้อ 1. อายุจริงของเป็ด อายุการไข่ เมื่อเรารับเป็ดสาวเข้าฟาร์ม เราต้องถามผู้ขายพันธุ์เป็ดว่า เป็ดอายุจริงเท่าไร ข้อนี้เราจะตรวจสอบ และตั้งต้นการจดบันทึกที่ถูกต้องครับ •อายุจริง หมายถึง นับตั้งแต่วันเลี้ยงลูกเป็ดวันแรกจนถึงวันที่ส่งให้เรา ซึ่งทั่วไปส่งอายุ 19-25 สัปดาห์ ส่งเป็ดอายุมากก็แก่เร็ว ปลดเร็ว เสียโอกาสการทำกำไรมาก คำนึงถึงน้ำหนักตัวเป็ดเฉลี่ยกี่กิโลกรัมต่อตัวด้วย น้ำหนักตัวเป็ดขึ้นกับปริมาณอาหารและคุณภาพอาหารที่เป็ดรุ่นกิน เมื่อตอนที่เลี้ยงในทุ่งหรือเลี้ยงในฟาร์ม การสอบถามเพื่อป้องกันการปนอายุเป็ดที่มีการปนอายุมากเข้ามา เพราะผู้เลี้ยงจะดูว่าเป็ดที่ส่งมาให้ไข่แล้วหรือยัง ขนเป็ดเต็มและชนิดของขนเป็ด ที่ถูกต้องและดีจะเลี้ยงเป็ดฝูงเดียวกัน อายุเดียวกัน น้ำหนักใกล้เคียงกัน เพื่อให้เป็ดให้ไข่ปริมาณมาก น้ำหนักไข่ใหญ่ ปริมาณไข่เพิ่มเร็ว และไข่สูงสุด(พีค)เร็ว และคงปริมาณไข่สูงให้นานที่สุด และการปลดเป็ดแก่จะปลดพร้อมๆกันทั้งเล้า •

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 3 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การแปลความหมาย จาก การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ 1 Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 2 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่

“ไม่ยากอย่างที่คิด 2” ต่อเนื่องจาก ฉบับที่ 1 หลังจากที่ ผู้เลี้ยงเป็ดไข่ จดบันทึก 4 อย่าง แล้วส่งให้เรา หรือ พนักงาน ซีพี. ที่อยู่ใน ภาคสนาม เราจะนำ ตัวเลข 4 อย่าง มาทำ การวิเคราะห์ เพื่อให้รู้ว่า ปริมาณไข่ ต่อวัน ควรจะเป็นเท่าไร กินอาหาร ควรจะเป็นเท่าไร การที่ไข่ หรือ อาหาร มากน้อย เหมาะสม หรือไม่ จะเกี่ยวข้อง กับ ต้นทุนการผลิต เช่น ทำไม จึงได้ไข่น้อยกว่า ความเป็นจริง เกิดจาก การจัดการ การเลี้ยง โรคภัย สภาพแวดล้อม ไข่ถูกลักขโมย หรือไม่ เราจะใช้ การจดบันทึก เป็นส่วนหนึ่ง ของ การวินิฉัย เป็นต้น เราจะนำ

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 2 เรื่อง “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การวิเคราะห์ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ Read More »

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 1 “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การทำบันทึก ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่

ทำไมต้องจดบันทึก ? เงินลงทุน ค่าพันธุ์เป็ดสาว เงินลงทุน ค่าอาหารเป็ด 1 ตัว กิน 55 กิโลกรัม ต่อปี เงินได้มา เป็ด 1 ตัวให้ไข่ 290-300 ฟอง ต่อปี เงินที่ลงทุน คุ้มค่าหรือไม่ การจดบันทึก สามารถ ทำให้เรารู้ว่า เลี้ยงเป็ดไข่ อย่างไร จึงคุ้มค่าเงิน อะไรที่ เป็นสาเหตุ ให้เรา กำไรน้อยลง หรือถึงขั้น ขาดทุน เรามา ร่วมมือกัน โดย ผู้เลี้ยงเป็ด จด 4 อย่าง… จดจำนวนเป็ดตายหรือคัดทิ้ง ทุกวัน จดจำนวนอาหารที่ให้เป็ด ทุกวัน จดจำนวนไข่ที่เก็บได้ ทุกวัน จดน้ำหนักไข่ สัปดาห์ละครั้ง ครั้งละ 1ตั้ง จดเพียงเท่านี้ เราจะนำข้อมูลนี้วิเคราะห์เบื้องต้นเพื่อแก้ปัญหาต่างๆโดยผู้เชี่ยวชาญ เพื่อเพิ่มกำไรให้ผู้เลี้ยงเป็ด ติดต่อเราที่ LINE : @cpffeed ผู้เลี้ยงจะเลี้ยงเป็ด

พูดจาภาษาเป็ด ตอนที่ 1 “ไม่ยากอย่างที่คิด…” การทำบันทึก ประสิทธิภาพ การเลี้ยงเป็ดไข่ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)