December 16, 2019

คีตะ มิลค์ แบรนด์นมพาสเจอไรซ์ ของเกษตรกรรุ่นใหม่

จากการที่กลุ่มเกษตรกรโคนมในพื้นที่จังหวัดราชบุรีและจังหวัดนครปฐม ประสบปัญหาน้ำนมดิบล้นตลาดในปี พ.ศ. 2512 และได้ทำหนังสือกราบบังคมทูลต่อพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร เพื่อขอพระราชทานความช่วยเหลือในการแก้ไขปัญหา จากพระมหากรุณาธิคุณในครั้งนั้น นำมาซึ่งการก่อตั้งโรงงานนมผงและศูนย์รวมนมหนองโพ เพื่อรับซื้อน้ำนมดิบจากสมาชิก และเติบโต ก้าวหน้า จนกลายเป็นสหกรณ์โคนมหนองโพราชบุรี จำกัด (ในพระบรมราชูปถัมภ์) ผู้ผลิตสินค้าแบรนด์หนองโพ ที่มาพร้อมสโลแกน “นมสดหนองโพ นมโคแท้แท้” ในปัจจุบัน ระยะเวลาเกือบ 50 ปี นับแต่การก่อตั้งสหกรณ์ เกิดการเปลี่ยนผ่านจากรุ่นสู่รุ่น ครอบครัวเม่งผ่อง เป็นหนึ่งในครอบครัวสมาชิกเกษตรกรโคนมที่รับมรดกตกทอดทางอาชีพมาจากรุ่นปู่ ย่า จนปัจจุบันสืบทอดมาถึงรุ่นหลาน และดำเนินกิจการฟาร์มโคนมเข้าปีที่ 7 แล้ว คุณปฐมพร เม่งผ่อง หรือ แมน โคบาลหนุ่มวัย 30 ปี เล่าให้ฟังถึงจุดเริ่มต้นของการเลี้ยงโคนมว่า คุณปู่กับคุณย่าเป็นเกษตรกรฟาร์มโคนม สมาชิกรุ่นแรกๆ ของสหกรณ์ แต่รุ่นพ่อแม่ไม่ได้สืบสานต่อ หันไปรับราชการ พอมาถึงรุ่นเขา ซึ่งขณะนั้นอยู่ในวัยมัธยมศึกษาตอนปลาย ปู่กับย่าได้ตัดสินใจเลิกทำฟาร์ม เพราะด้วยอายุที่มากขึ้นอาจทำไม่ไหว ด้วยความที่เขาได้ใกล้ชิด เรียนรู้ และช่วยปู่ย่าทำฟาร์มมาตั้งแต่เด็ก คุณแมนได้เกิดความมุ่งมั่นที่จะสานต่ออีกครั้ง “ผมบอกปู่กับย่าว่าขายโคนมไปได้ แต่คอก […]

คีตะ มิลค์ แบรนด์นมพาสเจอไรซ์ ของเกษตรกรรุ่นใหม่ Read More »

ศรีภักดีฟาร์ม ฟาร์มสร้างชีวิต

“ผมนั้นเคยติดคุกอยู่ที่บางขวาง 13 ปี ข้อหาปล้นฆ่าผู้อื่นโดยเจตนา ช่วงที่อยู่ในเรือนจำได้เรียนรู้เกี่ยวกับการเกษตร โดยเฉพาะการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงขององค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว จึงเป็นความตั้งใจว่า หากได้พ้นโทษออกมาจะมาเริ่มต้นชีวิตใหม่กับการทำเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียง” นายสุพันธ์ ศรีภักดี อยู่บ้านเลขที่ 13 หมู่ที่ 7 ตำบลหนองงูเหลือม อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ โทร. (087) 240-6827 บอกกล่าวถึงอดีตก่อนก้าวมาเป็นเกษตรกรในระดับ Smart Farmer ด้านปศุสัตว์ ภายใต้การสนับสนุนของสำนักงานปศุสัตว์อำเภอเบญจลักษ์ และสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดศรีสะเกษ จากที่ต้องถูกจองจำอยู่เป็นเวลา 13 ปี เมื่อพ้นโทษออกมาในปี 2535 จึงเป็นปีแห่งเริ่มต้นชีวิตใหม่ ด้วยการเข้าร่วมโครงการปรับโครงสร้างเพื่อการผลิตตามโครงการของกรมส่งเสริมการเกษตร ภายใต้การสนับสนุนของอำเภองานเกษตรอำเภอเบญจลักษ์ และเริ่มต้นทำฟาร์มภายใต้ชื่อ “ศรีภักดีฟาร์ม” บนพื้นที่ 24 ไร่ เมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2535 ด้วยความมุมานะพยายามในการประกอบอาชีพจึงทำให้ก้าวสู่ฟาร์มชั้นแนวหน้า มีกิจกรรมประกอบด้วย การเลี้ยงหมู 1,822 ตัว แยกเป็น แม่พันธุ์ 210 ตัว พ่อพันธุ์ 12 ตัว หมูขุน 1,600 ตัว วัวเนื้อ 444

ศรีภักดีฟาร์ม ฟาร์มสร้างชีวิต Read More »

“ไทยแบล็ค” โคขุนทางเลือกเนื้อระดับพรีเมียม

“โคเนื้อพันธุ์ไทยแบล็ค” (Thai Black) เป็นโคเนื้อที่มีการพัฒนาสายพันธุ์จากกรมปศุสัตว์ โดยใช้โคไทยหรือโคพื้นเมืองเป็นสายพันธุ์ตั้งต้น เนื่องจากสามารถปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศและวัตถุดิบอาหารสัตว์ในประเทศได้เป็นอย่างดี ผสมพันธุ์กับโคพันธุ์แองกัส ซึ่งเป็นโคที่มีอัตราการเติบโตเร็ว ไม่มีเขา คลอดง่าย ไขมันแทรกสูง เนื้อนุ่มและมีความสมบูรณ์พันธุ์ดี โคไทยแบล็คจึงเป็นโคขนาดกลาง น้ำหนักขุนเต็มที่ตัวผู้ไม่เกิน 600 กิโลกรัม ตัวเมียไม่เกิน 500 กิโลกรัม เจริญเติบโตไว เนื้อเต็มและมีไขมันแทรกเร็ว เป็นเอกลักษณ์เฉพาะที่ได้จากพันธุกรรมของโคไทยและโคแองกัส ที่สำคัญประสิทธิภาพในการใช้อาหารจะดีกว่าโคสายพันธุ์อื่นๆ เพราะโคพื้นเมืองจะเหมาะกับสภาพภูมิอากาศหรือภูมิประเทศนั้นๆ และเหมาะกับวัตถุดิบอาหารสัตว์ในพื้นที่นั้นด้วย ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นโคสายพันธุ์ใดก็ตามหากมีสายเลือดของโคไทยผสมอยู่ ส่วนใหญ่การขุนจะง่ายกว่าโคสายพันธุ์ต่างประเทศ “กลุ่มวิสาหกิจชุมชนโคเนื้อไทยแบล็ค โคราช” ตั้งอยู่เลขที่ 500 หมู่ 7 ตำบลขามทะเลสอ อำเภอขามทะเลสอ จังหวัดนครราชสีมา ได้นำโครงการจากสำนักเทคโนโลยีชีวภาพการผลิตปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ ผู้พัฒนาปรับปรุงพันธุ์โคเนื้อพันธุ์ไทยแบล็คมาต่อยอด และจัดตั้งกลุ่มฯขึ้นเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2558 ซึ่งเป็นการรวมตัวของกลุ่มคนที่มีความคิดเดียวกัน เลี้ยงโคเหมือนกัน และมีเป้าหมายไปในทิศทางเดียวกัน คือ ผลิตเนื้อโคเกรดพรีเมียม เพื่อตอบสนองผู้ที่นิยมบริโภคเนื้อโค และมีตลาดรองรับ โดยใช้วิธีการเลี้ยงอย่างประณีตไม่ใช่การเลี้ยงแบบไล่ทุ่งเหมือนก่อนหน้านี้ และอีกหนึ่งเป้าหมายสำคัญคือ ผลิตเนื้อโคคุณภาพสูงและผู้เลี้ยงจะต้องมีอาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน บทบาทของกลุ่มฯ มีหน้าที่ให้ข้อมูล ความรู้ วิธีการเลี้ยงและการขุนที่จะทำให้ได้โคเนื้อที่มีคุณภาพ จัดหาแม่พันธุ์

“ไทยแบล็ค” โคขุนทางเลือกเนื้อระดับพรีเมียม Read More »

ทำเป็นเล่น! เลี้ยง ‘วัว-ควาย’ สร้างรายได้ปีละ 450,000 บาท

ฝูงวัวควายขนาดใหญ่กว่า 100 ตัว เดินเลาะตามริมห้วยเขื่อนบ้านสนวน โดยมีนายพอย ศักดิ์ หรือที่ชาวบ้านเรียกว่า “คุณตาพอย” อายุ 65 ปี เดินต้อนกลับคอก เดินไล่ทุ่งมาเพียงลำพัง แต่สามารถคุมฝูงวัวควายฝูงใหญ่ได้อย่างน่าทึ่ง แต่ใครจะไปคิดว่าการเลี้ยงวัวเลี้ยงควายเหล่านี้จะสร้างกำไรมากกว่าตอนที่ทำนา 4 เท่าตัว สร้างรายได้งามๆ ปีละ 450,000 บาท นายพอยเล่าว่า ตนเลี้ยงวัว-ควาย มาตั้งแต่อายุ14ปี ไม่ได้เรียนต่อ ยึดอาชีพเลี้ยงวัวควายมาตั้งแต่เด็กๆ ได้จากพ่อแม่ ให้วัว-ควาย มาสร้างตัว 10 ตัว ก็เลี้ยงมาเรื่อยๆ ยึดอาชีพเลี้ยงวัวควายเรื่อยมา พื้นที่ตรงนี้เป็นพื้นที่ของหลวง ตนเห็นว่า เป็นป่ารกร้าง ทิ้งไว้จึงเข้าติดต่อขอเจ้าหน้าที่ ขอทำคอกวัวควายเล็กๆ เพราะเป็นพื้นที่ใกล้อ่างเก็บน้ำห้วยเชิง บ้านสนวน จึงมีหญ้ามากมาย พอจะสร้างอาชีพได้ ซึ่งทางเจ้าหน้าที่ อนุญาตให้มาเลี้ยงได้ ทุกวันเวลา 08.00น. จะขี่รถจักรยานยนต์มาจากหมู่บ้าน ระยะไป-กลับ 15กม. มาถึงคอกวัวเวลา 09.00น. จะปล่อยวัว ควาย แบบไล่ทุ่ง ให้ไปนอนเล่นแช่น้ำก่อนในห้วยก่อนทุกๆวัน

ทำเป็นเล่น! เลี้ยง ‘วัว-ควาย’ สร้างรายได้ปีละ 450,000 บาท Read More »

ถุงน้ำในรังไข่ ปัญหาใหญ่ชาววัวนม

เอกสารอ้างอิง Bovine Medicine Diseases and Husbandry of Cattle, (Second edition) Edited by A.H. Andrews with R.W. Blowey H. Boyd R.G. Eddy , Blackwell LARGE ANIMAL INTERNAL MEDICINE, (forth edition), Bradford P. Smith, ELSEVIER น.สพ.ธัชเมธ เธียรวชิญกุ์ล และทีมนักวิชาการอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง (CPF)

ถุงน้ำในรังไข่ ปัญหาใหญ่ชาววัวนม Read More »

คู่มือการเลี้ยงโคนม CPF

การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยมีการเลี้ยงกันมาเป็นเวลานาน แต่การพัฒนาในด้านต่างๆ ยังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควร ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของรูปแบบฟาร์ม การจัดการให้ผลผลิตน้ำนม คุณภาพน้ำนมดิบ ตลอดจนผลกำไร คู่มือประกอบอาชีพโคนมเล่มนี้เรียบเรียงขึ้นจากประสบการณ์ของ บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) และจากการสัมมนาวิชาการ ตลอดจนเอกสารวิชาการบางส่วนที่คิดว่าเป็นประโยชน์กับอาชีพการเลี้ยงโคนมโดยตรง สำหรับฉบับเต็มสามารถกดดาวน์โหลด PDF ได้ที่นี่ : คู่มือการเลี้ยงโคนม CPF หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpffeed

คู่มือการเลี้ยงโคนม CPF Read More »

เป็ดไข่อารมณ์ดีคลองสามวา

พื้นที่แขวงทรายกองดินและทรายกองดินใต้ เขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร เป็นพื้นที่เกษตรกรรมชานเมือง เกษตรกรส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือการทำนา แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่านมาราคาข้าวค่อนข้างตกต่ำทำให้เกษตรกรมีรายได้ลดน้อยลง ไม่เพียงต่อการใช้จ่ายในครัวเรือน หลายรายจึงเริ่มมองหาอาชีพ ทั้งเพื่อเพิ่มรายได้และเพื่อความมั่นคงด้านอาหารของครอบครัวและชุมชน คุณโสภา ชูชมชื่น เป็นหนึ่งในเกษตรกรเมืองกรุงฯ ที่มีความคิดดังกล่าว และเมื่อทางสำนักงานเกษตรพื้นที่ 1 เข้ามาสนับสนุนให้มีการทำอาชีพเสริม ภายใต้โครงการ “9101” คุณโสภาที่เดิมเคยมีประสบการณ์ในการเลี้ยงเป็ดไข่จึงรวมกลุ่มขอรับการสนับสนุนให้เกิดกลุ่มส่งเสริมเลี้ยงเป็ดไข่และการแปรรูปขึ้น โดยมีสมาชิกมาเข้าร่วมทั้งหมด 45 คน แบ่งเป็นกลุ่มย่อย 7 กลุ่ม แต่ละกลุ่มจะได้เลี้ยงเป็ดไข่กลุ่มละ 200 ตัว โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนทั้งแม่เป็ดไข่และการสร้างคอกโรงเรือนที่เหมาะสม “ที่พี่เลือกทำโครงการเลี้ยงเป็ดไข่ เพราะครั้งหนึ่งภาครัฐเคยมาสนับสนุน ตอนนั้นให้เลี้ยงครอบครัวละ 10 ตัว ซึ่งก็ได้ผลผลิตดี เลี้ยงได้เป็ดไม่ตาย อีกทั้งมีไข่ไว้บริโภค พอมีโครงการเข้ามาให้เกษตรกรรวมกลุ่มนำเสนอโครงการก็เลยชักชวนคนในชุมชนเลี้ยงเป็ดไข่ เพราะนอกจากรายได้เสริมจากการขายไข่สด ไข่เป็ดยังนำไปแปรรูปได้หลากหลายมากกว่าไข่ไก่ มีราคาดีกว่า และที่สำคัญที่เรามุ่งเน้นจริง ๆ คือการมีแหล่งอาหารสำหรับบริโภคในครัวเรือนก่อน เมื่อเหลือจึงขายและแปรรูป” การเลี้ยงเป็ดของทางกลุ่มฯ จะเริ่มจากซื้อแม่เป็ดไข่ “กากี แคมป์เบลล์” อายุประมาณ 4 เดือนครึ่ง ราคาตัวละ 160 บาท จากฟาร์มเพาะขยายพันธุ์ที่ได้มาตรฐาน มีการทำวัคซีนเรียบร้อยแล้ว นำมาเลี้ยงต่อประมาณ 1 เดือนก็จะเริ่มให้ผลผลิตไข่ได้

เป็ดไข่อารมณ์ดีคลองสามวา Read More »

เกษตรวัยใส จบนิติฯ ม.ดังหันเลี้ยงเป็ด ผลิตไข่เป็ดอารมณ์ดี

“จูน” ธนกัญพัชร ทิ้งโคตร นิติศาสตร์บัณฑิต จากรั้วมหาวิทยาลัยเอกชนชื่อดัง ตัดสินใจเลี้ยงเป็ดไข่และหันมาเป็นเกษตรกรอย่างเต็มตัว โดยอาศัยที่ดินว่างเปล่าของครอบครัว เลขที่ 209 หมู่ 7 บ้านปากหมาก ต.ศรีสองรัก อ.เมือง จ.เลย เนรมิตเป็น “ไร่ธารธรรม” (โทร. 09-5586-2256) ทำเกษตรแบบผสมผสาน ยึดหลักความพอเพียงตามแนวทางของในหลวงรัชกาลที่ 9 จูนเล่าให้ฟังว่า ครั้งแรกที่ตัดสินใจมาทำเกษตรเมื่อเกือบ 3 ปีก่อน เพราะตนเองเป็นลูกสาวคนเดียวจึงอยากกลับมาใช้ชีวิตอยู่กับครอบครัวที่บ้านเกิดมากกว่าการเรียนต่อและทำงานใช้ชีวิตในเมือง จึงถูกตั้งคำถามจากหลาย ๆ คนว่าจะทำได้จริงหรือแค่สร้างภาพ พอลงมือทำก็ถูกมองว่าถ้าอย่างนั้นจะไปเสียเงินเสียทองเรียนทำไมตั้งแต่ต้น แม้แต่เพื่อน ๆ ยังคิดว่าคงทำเล่น ๆ ระหว่างรอสอบเนติบัณฑิตหรือเรียนต่อเท่านั้น “จูนโชคดีว่าที่บ้านให้การสนับสนุนอย่างเต็มที่ อย่างคุณพ่อจะตอบทุกคนอย่างภูมิใจว่า ลูกผมเป็นเกษตรกร เพราะคุณพ่อมองว่าการทำเกษตรยั่งยืนได้ และเราเป็นเกษตรกรรุ่นใหม่ที่ไม่ได้แค่ผลิต แต่เป็นผู้ประกอบการไปในตัว” จูนบอกว่าจุดเปลี่ยนสำคัญคือช่วงใกล้เรียนจบนอกจากมีโอกาสไปเข้าค่ายธรรมะและไปศึกษาแนวทางการทำเกษตรกับ อาจารย์ยักษ์ “วิวัฒน์ ศัลยกำธร” พร้อม ๆ กับคุณแม่ ยังเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่คนไทยต่างโศกเศร้ากับการสวรรคตของในหลวงรัชกาลที่ 9 และมีการนำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตไปจนถึงการทำเกษตรอันเป็นมรดกสำคัญที่พระองค์ทิ้งไว้ให้ จูนจึงตัดสินใจหักเลี้ยวพวงมาลัย จากถนนที่มุ่งสู่อาชีพทนายมาเป็นเกษตรกรและสร้างไร่ธารธรรมขึ้น “พอตั้งใจที่จะทำเกษตร สิ่งแรกที่นึกถึงคือการเลี้ยงสัตว์ เพราะชอบการเลี้ยงสัตว์อยู่แล้ว และที่เลือกเป็ดไข่เพราะลองไปสำรวจตลาดในตัวอำเภอเมืองแล้วพบว่า ไม่มีไข่ที่รับมาจากเกษตรกรในจังหวัดเลย มีแต่มาจากขอนแก่นบ้าง

เกษตรวัยใส จบนิติฯ ม.ดังหันเลี้ยงเป็ด ผลิตไข่เป็ดอารมณ์ดี Read More »

เป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ เลี้ยงง่าย 4-5 เดือน ให้ไข่ชุดแรกขายได้

เป็ดไข่ที่เลือกเลี้ยงนั้น คุณลัดดาวัลย์ บอกว่า เลือกเป็ดไข่สายพันธุ์ปากน้ำ เพราะเป็ดมีลักษณะขนออกสีดำ ส่วนหัวเขียวสวย มีความเงา จึงทำให้เธอรู้สึกชอบและหลงใหลจึงได้เลือกเลี้ยงเป็ดสายพันธุ์นี้ทั้งหมดประมาณ 3,000 กว่าตัวในเวลานี้ เมื่อตกลงปลงใจที่จะเลี้ยงเป็ดไข่อย่างจริงจัง จึงได้เตรียมพื้นที่บางส่วนที่มีอยู่เดิมมาปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับการเลี้ยงเป็ด คือปรับให้เป็นพื้นที่ปลอดโปร่ง อากาศถ่ายเทได้สะดวก โดยแบ่งภายในโรงเรือนให้มีคอกกั้นเป็น 3 เล้า เพื่อเลี้ยงเป็ดให้มีขนาดรุ่นที่แตกต่างกันไปประมาณ 3 รุ่นอายุ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาไข่ขาดช่วง เพราะถ้าเป็ดไข่เป็นรุ่นเดียวกันมากเกินไป เวลาที่ไม่ออกไข่เหมือนกันทั้งหมด ก็จะทำให้เจอปัญหาไข่ไม่พอขายได้ จึงเป็นสิ่งที่จะกระทบในเรื่องของการตลาดได้ เพราะไม่สามารถขายได้ต่อเนื่อง “พอเราไปรับลูกเป็ดมาจากศูนย์วิจัยฯ ก็จะนำลูกเป็ดทั้งหมดมากก โดยตีกล่องสี่เหลี่ยมพร้อมเปิดไฟให้กับลูกเป็ด เอามากกประมาณ 7 วัน ก็ย้ายออกมาข้างนอก อาหารที่ใช้เลี้ยงลูกเป็ดก็จะเป็นอาหารสำเร็จรูปที่มีเปอร์เซ็นต์โปรตีน 20 ขึ้นไป ที่ใช้เลี้ยงเป็ดไก่ทั่วไป จะช่วยทำให้โครงสร้างของเป็ดดีขึ้น” คุณลัดดาวัลย์ บอก จากนั้นนำลูกเป็ดไข่ที่เห็นว่าแข็งแรงดีแล้วออกจากที่กก มาใส่เลี้ยงในคอกที่เตรียมไว้ จากนั้นก็จะเปลี่ยนอาหารแบบเชิงประหยัดต้นทุน คือให้กินพวกรำข้าว ต้นกล้วยสับ แหน และหญ้าทั่วไปที่สามารถหาได้ตามท้องถิ่นมาให้กินวันละประมาณ 3 ครั้ง และจะมีการให้วิตามินบี 12 ผสมกับน้ำเสริมให้เป็ดกินด้วยเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรง เมื่อเป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำได้อายุประมาณ 2 เดือน ก็จะสลับเล้าปล่อยให้ลงเล่นน้ำในสระที่เตรียมไว้ โดยจะไม่ขังให้อยู่ภายในเล้าเพียงอย่างเดียว

เป็ดไข่พันธุ์ปากน้ำ เลี้ยงง่าย 4-5 เดือน ให้ไข่ชุดแรกขายได้ Read More »

คู่มือการเลี้ยง เป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์

ปัจจุบันการเลี้ยงเป็ดไข่ได้มีการพัฒนาไปมากทั้งในเรื่องของสายพันธ์ุ อาหาร วิธีการเลี้ยง ซึ่งผู้เลี้ยงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทันกับการเปลี่ยนแปลงต่างๆเพื่อให้สามารถเลี้ยงเป็ดไข่ได้อย่างมีประสิทธิภาพและต้นทุนต่ำ โดยเฉพาะสายพันธ์ุ ซีพี ซุปเปอร์ ซึ่งเป็นเป็ดไข่ที่ได้รับการพัฒนาสายพันธ์ุให้มีรูปร่างที่ปาดเปรียว หากินเก่ง ไข่ดก โดยให้ไข่สะสมที่ 52 สัปดาห์สูงถึง 280-300* ฟองต่อตัวและทนต่อสภาพแวดล้อมได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้แล้วด้านคุณภาพไข่ให้ไข่น้ำหนักเฉลี่ย 72 กรัม* มีเปลือกไข่หนา และไข่แดงใหญ่ สำหรับฉบับเต็มสามารถกดดาวน์โหลด PDF ได้ที่นี่ : คู่มือการเลี้ยง เป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์ หากมีข้อสงสัยสามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @cpffeed

คู่มือการเลี้ยง เป็ดไข่ ซีพี ซุปเปอร์ Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)