CPFFEED

เมนูไข่ไก่ไม่ต้องกลัวคอเลสเตอรอล

เมนูไข่ไก่ไม่ต้องกลัวคอเลสเตอรอล ถกเถียงกันไม่จบว่า ควรรับประทานไข่ไก่จำนวนเท่าไรจึงจะเหมาะสม รับประทานมาก เกินไปแล้วคอเลสเตอรอลในไข่ไก่จะส่งผลต่อสุขภาพของผู้บริโภคหรือไม่ อย่างไร? มาตรฐานการผลิตเนื้อไก่ปลอดภัย หากตัดข้อข้องใจเรื่องปริมาณ การรับประทานที่เหมาะสม หรือคอเลสเตอรอลในไข่ไก่แล้ว นักโภชนาการหรือผลวิจัยส่วนใหญ่ต่าง ยอมรับว่า ไข่ไก่เป็นอาหารชนิดเดียวที่มี สารอาหารครบถ้วนเกือบทุกชนิดที่จำเป็นต่อร่างกาย โดยเฉพาะโปรตีนที่มีคุณภาพดีที่สุด เพราะเป็นโปรตีนชนิดเดียวที่มีกรดอะมิโนจำเป็นครบถ้วนตามที่ร่างกายต้องการ ที่สำคัญองค์การอนามัยโลก (World Food Organization) ใช้โปรตีนไข่ (egg proteins) และกรดอะมิโน (amino acids) เป็นค่าเปรียบเทียบเพื่อประเมินคุณภาพโปรตีนจากอาหารชนิดอื่นๆ นอกจากนี้ไข่ยังเป็นแหล่งแร่ธาตุและวิตามินที่ครบถ้วน ยกเว้นเพียงวิตามินซีและเคเท่านั้น ด้วยประโยชน์จากไข่ไก่มีหลายประการ ในที่นี้อยากจะยกตัวอย่างสารอาหารสำคัญ บางประการ อาทิ โคลีนเป็นสารอาหารที่สำคัญและจำเป็นต่อแม่ที่กำลังตั้งครรภ์และอยู่ระหว่างการให้นม นอกเหนือจากที่จะช่วยบำรุงสมอง และเสริมความจำ และจากงานวิจัย หลายชิ้นยืนยันว่า โคลีนเป็นสารอาหารที่ช่วยชะลอความแก่ และมีคุณประโยชน์ต่อคนเรา ในทุกช่วงชีวิตตั้งแต่เป็นทารกจนวัยชราเลย ทีเดียว ส่วนลูธีน (Lutein) และ ซีแซนทิน (zeaxanthin) เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่พบในไข่แดง ซึ่งช่วยชะลอโรคจอประสาทตาเสื่อม และในการผลิตไข่ไก่สมัยใหม่ยังสามารถเพิ่มปริมาณแร่ธาตุเช่น โอเมก้า3 DHA EPA ให้สะสมในไข่มากขึ้น เพื่อผู้บริโภคได้รับประโยชน์จากแร่ธาตุดังกล่าวได้โดยตรง …

เมนูไข่ไก่ไม่ต้องกลัวคอเลสเตอรอล Read More »

หมูแคระพันธุ์ฮอลแลนด์ โตมาไม่หลุดไซส์ ดูแลได้ไม่ยาก

หลายคนคงกำลังแปลกใจและคงกำลังนึกว่าจะเลี้ยงเจ้าหมูตัวใหญ่กินจุไว้ในพื้นที่จำกัดอย่างบ้านและคอนโดได้อย่างไร จึงต้องไขข้อข้องใจก่อนว่าหมูที่กำลังพูดถึงคือ “หมูแคระ” สัตว์เลี้ยงแสนน่ารัก ฉลาด ดูแลง่าย มีรูปร่างหน้าตาภายนอกไม่ต่างอะไรจากหมูทั่วไปเพียงแต่มีขนาดตัวเล็กกว่า จะเรียกว่าเป็นหมูย่อส่วนก็คงไม่ผิดนัก และด้วยความน่ารักของหมูแคระนี้เองที่ทำให้ผู้คนให้ความสนใจจนเจ้าหมูแคระกลายเป็นสัตว์เลี้ยงยอดนิยมอีกชนิดของหมู่คนรักสัตว์ ส่งผลให้มีการนำเข้าหมูแคระมากขึ้นจนมีฟาร์มที่สามารถเพาะพันธุ์ได้ในประเทศไทยอย่าง “MFFarm” คุณกนกรักษ์ เตชะนิโลบล เจ้าของฟาร์มหมูแคระ MFFarm ที่มีการนำเข้าหมูแคระสายพันธุ์ฮอลแลนด์เป็นฟาร์มแรก ๆ ของประเทศ ให้ข้อมูลว่า หมูแคระคู่แรกที่นำมาเลี้ยงเป็นของขวัญจากคุณพ่อคุณแม่ที่ซื้อมาให้เลี้ยงคู่กับพี่สาว ซึ่งตอนนั้นไม่มีความคิดที่จะนำมาจำหน่ายแม้แต่น้อย แต่ด้วยธรรมชาติของหมูที่สามารถขยายพันธุ์ได้อย่างรวดเร็วและมีอัตราการรอดสูง เมื่อหมูแคระเริ่มเจริญเติบโตขึ้นเรื่อย ๆ ก็มีการผสมพันธุ์กันจนมีลูกหมูแคระออกมาให้เลี้ยงอีกหลายรุ่นรวม ๆ แล้วจำนวนกว่า 100 ตัว ทำให้สถานที่เลี้ยงเริ่มคับแคบจึงตัดสินใจนำลูกหมูแคระออกมาลองจำหน่ายและเปิดเป็นฟาร์ม MFFarm สำหรับเพาะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายอย่างในปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าสัตว์เลี้ยงเข้ามามีบทบาทในวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันมากขึ้น เป็นเหมือนตัวแทนของเพื่อน รวมถึงหลาย ๆ คนที่ดูแลไม่ต่างจากลูก ส่งผลให้จำนวนสัตว์เลี้ยงในประเทศไทยขยายตัวมากขึ้น และมีสัตว์เลี้ยงชนิดใหม่ ๆ ในตลาดสัตว์เลี้ยงให้ได้เลือกรับไปดูแลตามความพึงพอใจ แต่ใครจะคิดว่าวันหนึ่ง “หมู” จะกลายเป็นสัตว์เลี้ยงแสนน่ารักที่ได้รับความนิยมเลี้ยงไว้ในบ้าน ในคอนโด โดยไม่ใช่การเลี้ยงในฟาร์มเพื่อการบริโภคอย่างที่เคย ซึ่งได้รับความนิยมถึงขั้นมีฟาร์มสำหรับจำหน่ายไว้เป็นสัตว์เลี้ยงโดยเฉพาะ “MFFarm” ตั้งอยู่ที่จังหวัดสุพรรณบุรี ซึ่งหลังจากที่ลองเปิดเพจ Facebook เพื่อจำหน่ายก็ได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี จึงเริ่มหาพื้นที่สำหรับทำฟาร์มเพาะพันธุ์ที่สามารถรองรับลูกหมูจำนวนมากได้ เนื่องจากแม่พันธุ์ 1 ตัวสามารถออกลูกได้ครั้งหนึ่งอย่างน้อย 4 ตัว และมากสุดถึง 13-14 ตัวต่อการตั้งท้องแต่ละครั้ง ภายในฟาร์มจะทำคอกเหมือนการเลี้ยงแบบทั่วไปแต่จะมีคอกแบ่งย่อย ๆ …

หมูแคระพันธุ์ฮอลแลนด์ โตมาไม่หลุดไซส์ ดูแลได้ไม่ยาก Read More »

“ชัยสุภาฟาร์ม” ลดความเสี่ยงด้านตลาดด้วยคอนแทรคฟาร์ม

หลายคนอาจมองว่าการทำธุรกิจฟาร์มสุกรจะต้องลงทุนสูงและพ่วงมาพร้อมกับการแบกรับความเสี่ยงที่สูงลิ่ว อีกทั้งยังมีปัญหาต่าง ๆ ตามมาอีกมากมาย ทั้งเรื่องโรคระบาด การจัดการของเสียภายในฟาร์ม และการหาตลาดรองรับ แต่สำหรับ “ชัยสุภาฟาร์ม” ฟาร์มสุกรจากจังหวัดตาก หนึ่งในฟาร์มภายในระบบคอนแทรคฟาร์มของซีพีเอฟ กลับมองว่าถึงแม้อาชีพนี้จะต้องลงทุนสูงแต่การเข้าร่วมคอนแทรคฟาร์มจะช่วยลดความเสี่ยงลงแทบทุกทาง ทั้งเรื่องการหาวัตถุดิบ พันธุ์หมู อาหารหมู และสำคัญที่สุดคือไม่ต้องเสี่ยงกับการหาตลาด อีกทั้งหากมีการจัดการที่ดีก็ยังสามารถสร้างมูลค่าเพิ่มจากของเสียภายในฟาร์มได้อีกด้วย คุณวีรุตม์ ชัยสุภา หรือคุณหนุ่ย ผู้เป็นเจ้าของชัยสุภาฟาร์ม ให้ข้อมูลว่า จุดเริ่มต้นของการทำฟาร์มสุกรเกิดขึ้นในช่วงปีพ.ศ. 2546 เนื่องจากมีคนเสนอขายฟาร์มสุกรให้กับพี่ชายของตน พี่ชายจึงชักชวนให้มาทำธุรกิจร่วมกัน ในตอนนั้นแม้กำลังศึกษาในระดับปริญญาตรีปีสุดท้ายที่กรุงเทพ แต่ก็ตัดสินใจลองดู เพราะคิดถึงอนาคตว่าหากมีธุรกิจเป็นของตัวเองย่อมมีความมั่นคงและสามารถสร้างรายได้มากกว่าการทำงานบริษัท จึงได้ย้ายมายังจังหวัดตากและเริ่มเรียนใหม่อีกครั้งจนจบปริญญาโท สาขาธุรกิจเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ควบคู่ไปกับการเรียนรู้เรื่องการทำฟาร์มสุกร มาจนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 16 ปี “เราเริ่มต้นการทำฟาร์มจาก 2 โรงเรือนและสุกรจำนวน 1,200 ตัว ช่วงแรกเรียกได้ว่าต้องล้มลุกคลุกคลานจนเหนื่อยกว่าจะประสบความสำเร็จ พบปัญหามากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องระบบน้ำ การขาดแคลนแรงงาน และการจัดการภายในฟาร์มที่ยังคงเป็นฟาร์มระบบเปิด กิจวัตรประจำวันในช่วงนั้นก็จะวนเวียนอยู่กับการไปเรียนในช่วงเช้าและกลับมาดูแลฟาร์มในช่วงเย็น จนสั่งสมประสบการณ์ได้ 2 ปีก็เริ่มขยายโรงเรือนเพิ่มอีก 1 โรงเรือน จากนั้นในปี พ.ศ. 2550 ก็ได้ขยายพื้นที่ฟาร์มออกไปอีก 50 …

“ชัยสุภาฟาร์ม” ลดความเสี่ยงด้านตลาดด้วยคอนแทรคฟาร์ม Read More »

เลิกทำนามาเลี้ยงหมู ชีวิต..เปลี่ยน

“ก่อนหน้านี้ทำนา 7 ไร่ ปลูกข้าว กข 15 ได้แค่ปีละครั้ง ปีหนึ่งๆมีรายได้จากการขายข้าวประมาณหมื่นห้าพันบาท หมดหน้านาต้องไปทำงานโรงงาน อย่าว่าแต่จะมีเงินเก็บออมเลย แค่พอมีรายได้เลี้ยงตัวเองแต่ละวันยังยาก แต่พอเปลี่ยนมาเลี้ยงหมูขุนกับซีพีเอฟ ชีวิตเปลี่ยนไปเลย นอกจากจะไม่เหนื่อย ไม่ร้อนเหมือนทำนา เพราะทำงานในโรงเรือนอีแวป อากาศเย็นสบาย ที่สำคัญรายได้มากกว่าหลายเท่า ตอนนี้ขึ้น 2 โรงแล้ว หักค่าใช้จ่าย ปีหนึ่งๆเหลือกำไรพอสมควร” สายทอง ขันคำ อดีตชาวนาวัย 30 ปี บ.ห้วยขาม ต.แก่งโดม อ.สว่างวีระวงศ์ จ.อุบลราชธานี เล่าถึงความสำเร็จหลังเปลี่ยนอาชีพหันมาเลี้ยงหมู ด้วยทุนตั้งต้น 1.5 ล้านบาท ที่ได้จากขายสวนยางพารา 20 ไร่ “สวนยางอยู่ไกลจากบ้าน 70 กม. ไปมาลำบาก เลยตัดสินใจขาย ทีแรกตั้งใจจะนำเงินไปซื้อรถกระบะ โชคดีที่ไม่ได้ซื้อ เพราะบังเอิญช่วงนั้นมีสัตวบาลของซีพีเอฟมาชักชวนให้เลี้ยงหมูแบบคอนแทร็กฟาร์มมิ่ง เนื่องจากมีบริษัทได้โครงการมาแถวนี้ ให้เลี้ยงในแบบฝากเลี้ยง คือ บริษัทเอาพันธุ์หมู อาหาร และมีเจ้าหน้าที่สัตวบาลมาคอยดูแลเรื่องการใช้วัคซีนตามรอบ เรียกว่าเราลงทุนแค่แรงเลี้ยงกับสร้างโรงเรือน เมื่อเลี้ยงได้ครบกำหนด หมูได้น้ำหนักตามเกณฑ์ …

เลิกทำนามาเลี้ยงหมู ชีวิต..เปลี่ยน Read More »

โรคในระบบทางเดินหายใจ “สุกร” ที่เกษตรกรควรรู้

โรคทางเดินหายใจที่สำคัญในสุกร ปอดสุกร แบ่งออกเป็น 7 กลีบ ด้านขวา 4 กลีบ ด้านซ้าย 3 กลีบ ปอดสุกรปกติ เนื้อสัมผัสจะมีความยืดหยุ่นคล้ายฟองน้ำ เนื่องจากมีอากาศในปอดนั่นเอง ปอดอักเสบ เนื้อปอดจะแน่นและหนัก สีจะเข้มขึ้น บางครั้งก็มีจุดเลือดออก จับแล้วไม่ยืดหยุ่น คล้ายยาง บางครั้งเจอฝีหรือเนื้อตายที่ปอดด้วย ปอดอักเสบจากแบคทีเรีย พบการอักเสบที่มีขอบเขตชัดเจน มักพบที่ปอดหน้าส่วนล่าง ปอดจะแข็งไม่ยืดหยุ่นเพราะมีพวกเซลล์อักเสบ สารคัดหลั่งหรือพวกหนองเข้ามาที่ทางเดินหายใจ ทำให้อากาศไม่สามารถเข้าไปได้เต็มที่ พอตัดปอดมาลอยน้ำก็จะจม ปอดอักเสบจากไวรัส พบการอักเสบกระจายทั่วไป เนื่องจากผนังถุลมหนาตัวและเกิดพิษในกระแสเลือด มีความหนาแน่นยืดหยุ่นคล้ายยาง 1.โรค PRRS (Porcine reproductive and respiratory syndrome, เพิร์ส) ระยะฟักตัว 5-16 วัน จะแสดงอาการทางระบบหายใจ 1 สัปดาห์ ภาวะเจริญพันธุ์ล้มเหลว (ขี้นกับความรุนแรงของเชื้อไวรัส) (US/EU strain) อาการ/รอยโรค แม่พันธุ์ → แท้งระยะท้าย (90วันขึ้นไป,คลอดก่อนกำหนด, …

โรคในระบบทางเดินหายใจ “สุกร” ที่เกษตรกรควรรู้ Read More »

เลี้ยงหมูอารมณ์ดี ที่ “จีระวรรณฟาร์ม” สำเร็จจากคอนแทรคฟาร์ม

“แต่ละปีเรามีรายได้ราวๆ 7 แสนบาทจากการเลี้ยงหมูขุน 2 รุ่น ปัจจุบันเลี้ยงรุ่นละ 680 ตัว ทำให้มีเงินส่งลูกทั้ง 2 คนเรียนจนจบปริญญา ก็เพราะอาชีพเลี้ยงหมู วันนี้ยังวางแผนที่จะขยายฟาร์มให้กับลูกสาวคนโต เพราะเขาเห็นความสำเร็จของพ่อแม่ เราเชื่อว่าอาชีพนี้จะกลายเป็นมรดกให้ลูกๆได้อย่างแน่นอน” วิถีชีวิตของ “จีระวรรณ -สง่า สอนพรม” เกษตรกรสองสามี-ภรรยา ชาวตำบลบ้านธาตุ อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย เมื่อ 17 ปีก่อน ไม่แตกต่างกับชาวบ้านในละแวกเดียวกัน เมื่อถึงหน้านาก็ทำนาปลูกข้าว พอหมดหน้านาก็ทำไร่ข้าวโพดปลูกมันสําปะหลังสลับกันไป ทำให้เขาและธอท้องสองมองหาช่องทางอีชีพใหม่ที่ดีกว่า บังเอิญได้พบเห็นเพื่อนที่ประสบผลสำเร็จจากอาชีพการเลี้ยงหมู่ ในโครงการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสุกรขุนแก่เกษตรกรรายย่อย หรือคอนแทรคฟาร์มโครงการฝากเลี้ยงหมู กับบริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) หรือซีพีเอฟ มีรายได้ดี จึงได้ศึกษารายละเอียดและตัดสินใจเข้าร่วมโครงการทันที ในนาม “จีระวรรณฟาร์ม” และมาประยุกต์การเลี้ยงหมูให้อารมณ์ดี ด้วยการเปิดเพลงให้หมูฟังทุกวัน จีระวรรณ ย้อนอดีตก่อนตัดสินใจหันมาเลี้ยงในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับ ซีพีเอฟ ว่า เกิดจากความสำเร็จของเพื่อน ทำให้เกิดแรงบันดาลใจให้ครอบครัวสนใจที่เลี้ยงหมูในระบบคอนแทรคฟาร์มมิ่งกับ ซีพีเอฟ เพราะแต่ละปีการทำนามีได้รายปีละครั้ง ทำไร่เสริมอีกก็ได้เงินตามแต่ผลผลิตที่ได้มา แต่การเลี้ยงหมูจะมีรายได้ทั้งปี จะมากหรือน้อยก็ขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพการเลี้ยงของตัวเอง จึงตัดสินเลือกอาชีพนี้ในนาม “จีระวรรณฟาร์ม” ตั้งแต่ปี …

เลี้ยงหมูอารมณ์ดี ที่ “จีระวรรณฟาร์ม” สำเร็จจากคอนแทรคฟาร์ม Read More »

เครื่องให้อาหารแม่หมู นวัตกรรมไทยทำ 2.5 พัน

เครื่องให้อาหารแม่หมู นวัตกรรมไทยทำ 2.5 พัน

เกษตรกรเลี้ยงแม่พันธุ์หมูมักประสบปัญหา กลางวันอากาศร้อน แม่หมูเครียดไม่กินอาหาร เมื่อให้อาหารทิ้งไว้ในถาดแม่หมูมักคุ้ยกินเลอะเทอะ หล่นตามพื้น พอกลางคืนอากาศเย็น หิวจะกินอาหาร ไม่มีให้กิน ครั้นจะใช้เครื่องให้อาหารอัตโนมัติต้องสั่งซื้อของต่างประเทศ ราคาแพง 7,000-8,000 บาท…วันนี้มีนวัตกรรมไทยแท้ “เครื่องให้อาหารหมู อีซี่ฟีด (EASY FEED)” ที่ได้รับการจดสิทธิบัตร ราคาแค่ 2,500 บาท ลิขิต โสมาเกตุ ผู้คิดค้นเครื่องอีซี่ฟีด เผยว่า ที่ผ่านมาฟาร์มหมูเจอปัญหาอาหารตกหล่น สิ้นเปลืองสูญเปล่า ทำให้แม่หมูระหว่างคลอดได้รับอาหารไม่เพียงพอ พอตกลูกได้ลูกที่ไม่ค่อยแข็งแรง ตัวแม่กว่าจะฟื้นตัวใช้เวลานาน และต้องมีคนงานเฝ้าเติมอาหารอยู่ตลอด เพื่อให้แม่หมูได้อาหารอย่างเพียงพอ ปี 2558 จึงคิดว่าทำยังไงให้แม่หมูได้กินอย่างเต็มที่ ไม่สูญเสียอาหารโดยเปล่าประโยชน์ เลยลองศึกษาเครื่องให้อาหารอัตโนมัติจากต่างประเทศ พบว่ามีกลไกซับซ้อนเกินไป ทำได้ยาก เลยกลับมาคิดแนวทางของตัวเอง กระทั่งปี 2561 จึงคิดเครื่องให้อาหารแม่หมูแบบไทยๆ ประกอบด้วยถังใส่อาหารขนาดบรรจุ 7 กก. ประกอบเข้ากับท่อสเตนเลสให้อาหารไหลลงมา มีปุ่มสำหรับเลื่อนปรับระดับให้อาหาร 4 ระดับ ระดับแรกอาหารจะไหลลงมาในถาดอาหารครั้งละ 50 กรัม ระดับสอง 60 กรัม …

เครื่องให้อาหารแม่หมู นวัตกรรมไทยทำ 2.5 พัน Read More »

“หมูหลุมดอนแร่” ปฏิวัติวิธีเลี้ยงสุกรแบบบ้าน ๆ สู่การเลี้ยงเชิงพาณิชย์

“หมูหลุมดอนแร่” ปฏิวัติวิธีเลี้ยงสุกรแบบบ้าน ๆ สู่การเลี้ยงเชิงพาณิชย์

รอบปี 2561 ที่ผ่านมาน่าจะเป็นปีที่สาหัสของผู้เลี้ยงสุกรที่ต้องเผชิญกับปัญหาราคาสุกรตกต่ำ ต้นทุนที่เพิ่มสูง ไหนจะการโยนหินถามทางของภาครัฐเกี่ยวกับการนำชิ้นส่วนสุกรจากสหรัฐอเมริกาเข้ามาจำหน่าย ถึงกระนั้นมีการคาดการณ์ว่าราคาสุกรปีนี้จะเพิ่มสูงขึ้น เพราะเมื่อปีที่ผ่านมาทำเกษตรกรเลิกเลี้ยงกันไปเยอะ ปริมาณหมูในตลาดจึงน่าจะลดลง เรื่องนี้ถ้าเป็นจริงคงเป็นตลกร้ายที่ขำไม่ออกสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยง ที่ต้องพยายามหาทางออก หาทางแก้กันต่อให้ปี “หมูป่า ” ที่โหรดังทำนายทายทัก เปลี่ยนเป็นปี “หมูทอง” ที่สุกใสให้จงได้ สุพจน์ สิงโตศรี ประธานกลุ่มเกษตรกรเลี้ยงหมูหลุม ตำบลดอนแร่ นับเป็นคนแรก ๆ โดยเฉพาะในแถบภาคกลางที่หันมาเอาจริงเอาจังกับเลี้ยงสุกรด้วยวิถีธรรมชาติ หรือการเลี้ยงแบบ “หมูหลุม” โดยผสานองค์ความรู้ด้านสัตวบาลที่ร่ำเรียนเข้ากับประสบการณ์การทำงานในฟาร์มสุกรขนาดใหญ่มาใช้พัฒนาเทคนิคการเลี้ยงหมูหลุม ไม่ให้เป็นเพียงการเลี้ยงแบบบ้าน ๆ เพื่อใช้เป็นแหล่งโปรตีนภายในครัวเรือนเท่านั้น แต่สามารถผลิตเนื้อสุกรคุณภาพจำหน่ายได้ราคาที่ดีกว่าสุกรในระบบฟาร์มเลี้ยงทั่วไป ปี พ.ศ. 2549 เป็นปีแรกที่คุณสุพจน์เริ่มต้นทดลองหมูหลุม โดยปรับโรงเรือนเลี้ยงหมูของตนเองให้เป็นฟาร์มเลี้ยงหมูหลุม มีการจัดการที่เหมาะสมกับสภาพพื้นที่ เช่นคอกเลี้ยงหมูหลุมตามตำราจะให้ขุดดินลึกลงไป 90 เซนติเมตร แต่ด้วยความที่คอกเดิมเป็นพื้นปูนจึงใช้วิธีรองพื้นคอกด้วยแกลบสูงจากพื้นคอกขึ้นมา 60 เซนติเมตร ซึ่งทดลองเลี้ยงแล้วได้ผลดีเช่นกัน รวมถึงหันมาใช้น้ำหมักจุลินทรีย์ช่วยในการควบคุมกลิ่นได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และเพื่อตอบโจทย์ความสงสัยของตนเองที่ว่า หากการเลี้ยงหมูด้วยวิธีนี้ดีจริงจะต้องเลี้ยงแบบปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะหรือเลี้ยงเป็นหมูปลอดเข็มให้ได้ ในส่วนของพื้นคอกที่เป็นไฮไลท์สำคัญของการเลี้ยงหมูหลุม กรณีที่ทำคอกขึ้นใหม่อาจขุดดินลึกลงไป 40 เซนติเมตร ก่อนเทวัสดุรองพื้นลงไปหรือจะใช้เป็นพื้นปูนก็ได้เช่นกัน แต่จะต้องรองพื้นสูง 60 เซนติเมตร สำหรับวัสดุรองพื้นหลักจะใช้เป็นแกลบ เพราะมีคุณสมบัติช่วยดูดซับความชื้นได้ดี …

“หมูหลุมดอนแร่” ปฏิวัติวิธีเลี้ยงสุกรแบบบ้าน ๆ สู่การเลี้ยงเชิงพาณิชย์ Read More »

https://www.cpffeed.net/uploads/4b18e7d0ee0b1945d1e40216a0cf31f8.jpg

ประเภทและพันธุ์หมู

หมูที่เลี้ยงในปัจจุบันมีอยู่หลายพันธุ์ รูปร่างลักษณะของหมูเกิดจากการผสมพันธุ์และการคัดเลือกพันธุ์ตามความต้องการของนักผสมพันธุ์และผู้บริโภคตลอดจนอาหารที่ใช้เลี้ยงดู ถ้าจัดแบ่งหมูตามรูปร่างลักษณะและคุณภาพของเนื้อแล้วจะแบ่งออกเป็น ๓ ประเภท คือ ๑. ประเภทมัน ๒. ประเภทเนื้อ ๓. ประเภทเบคอน ๑. หมูประเภทมัน หมูประเภทนี้มีลักษณะอ้วนเตี้ย ลำตัวหนาแต่สั้น สะโพกเล็ก มีมันมาก มีเนื้อแดงน้อย หมูประเภทมันมีขนาดเล็กเจริญเติบโตช้าและกินอาหารเปลือง สมัยก่อนคนนิยมเลี้ยงหมูประเภทนี้กันมาก เพราะต้องใช้มันหมูในการประกอบอาหาร ปัจจุบันเรานิยมบริโภคน้ำมันพืชแทนความนิยมในการใช้น้ำมันหมูจึงลดลงอย่างมาก ตัวอย่างพันธุ์หมูที่จัดไว้ในหมูประเภทมัน ได้แก่ หมูพันธุ์พื้นเมืองทั้งที่เป็นพันธุ์ดั้งเดิมของไทย เช่น พันธุ์ราด พันธุ์พวง ฯลฯ และที่มีถิ่นดั้งเดิมจากประเทศจีน คือ พันธุ์ไหหลำ ๒. หมูประเภทเนื้อ หมูประเภทนี้มีคุณสมบัติอยู่กึ่งกลางระหว่างหมูประเภทมันและเบคอน ดังนั้นหมูประเภทเนื้อลำตัวจึงยาวกว่าประเภทมันแต่ไม่ยาวมากนัก มีส่วนไหล่และสะโพกใหญ่อวบ ลำตัวหนาและลึก หลังโค้งพองาม หมูประเภทนี้มีขึ้นโดยวิธีการผสมพันธุ์และคัดเลือกพันธุ์ให้มีเนื้อแดงมากขึ้นแต่มันลดลงเจริญเติบโตเร็วและมีประสิทธิภาพในการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อก็ดีขึ้น ตัวอย่างหมูประเภทนี้คือ หมูพันธุ์ดูร็อก พันธุ์แฮมเชียร์ เป็นต้น ๓. หมูประเภทเบคอน หมูประเภทนี้มีขนาดใหญ่ ผอม ลำตัวยาวกว่าประเภทอื่น ๆ แต่ค่อนข้างบาง กระดูกใหญ่ ขายาว สะโพกเล็ก …

ประเภทและพันธุ์หมู Read More »

การเลี้ยงหมูในประเทศไทย

การเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทยแต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้านเป็นส่วนใหญ่ คือ ผู้เลี้ยงหมูประเภทนี้เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ดังนั้นผู้เลี้ยงประเภทนี้จึงเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมากไม่ได้จะเลี้ยงไว้เพียงบ้านละ ๒-๓ ตัวเท่านั้น ผู้เลี้ยงเป็นอาชีพจริง ๆ มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมาก ๆ ได้ มักทำอาชีพอื่น ๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสี เป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีนรองลงมาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีน การเลี้ยงหมูในประเทศไทย การเลี้ยงหมูของเกษตรกรไทยแต่เดิมเป็นการเลี้ยงแบบหลังบ้านเป็นส่วนใหญ่ คือ ผู้เลี้ยงหมูประเภทนี้เลี้ยงไว้โดยให้กินเศษอาหารที่มีอยู่หรือที่เก็บรวบรวมได้ตามบ้าน ดังนั้นผู้เลี้ยงประเภทนี้จึงเลี้ยงหมูเป็นจำนวนมากไม่ได้จะเลี้ยงไว้เพียงบ้านละ ๒-๓ ตัวเท่านั้น ผู้เลี้ยงเป็นอาชีพจริง ๆ มีน้อยมากหรือแทบจะไม่มีเลย ผู้เลี้ยงไว้เป็นจำนวนมาก ๆ ได้ มักทำอาชีพอื่น ๆ อยู่ด้วย เช่น เป็นเจ้าของโรงสี เป็นต้น ผู้เลี้ยงหมูแต่ก่อนมักเป็นชาวจีนรองลงมาก็เป็นผู้เลี้ยงชาวไทยเชื้อสายจีน วิธีการเลี้ยงหมูแต่เดิมมายังล้าสมัยอยู่มากจะเห็นได้ว่าผู้เลี้ยงบางคนยังไม่มีคอกเลี้ยงหมูเลย หมูจึงถูกปล่อยให้กินอยู่ตามลานบ้าน ใต้ถุนเรือนหรือตามทุ่ง หรือผูกติดไว้กับโคนเสาใต้ถุนบ้าน เป็นต้น ส่วนที่ดีขึ้นมาหน่อยก็มีคอกเลี้ยงแต่พื้นคอกก็ยังเป็นพื้นดินอยู่นั่นเอง พื้นคอกที่ทำด้วยไม้และคอนกรีตมีน้อยมาก อาหารที่ใช้เลี้ยงหมูแต่เดิมนอกจากเศษอาหารตามบ้านแล้วอาหารหลักที่ใช้ก็ คือ รำข้าวและหยวกกล้วยนำมาหั่นเป็นชิ้นบาง ๆ แล้วตำให้ละเอียดอีกทีหนึ่ง นอกจากนี้อาจมีผักหญ้าที่ขึ้นอยู่ตามธรรมชาติ เช่น จอก ผักตบชวา …

การเลี้ยงหมูในประเทศไทย Read More »

เว็บไซต์นี้มีการจัดเก็บคุกกี้เพื่อมอบประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ให้แก่ท่านได้ดียิ่งขึ้น รวมถึงทำให้สามารถมอบข้อเสนอ กิจกรรมส่งเสริมการขาย เลือกเนื้อหาให้เหมาะสมแก่ท่านอย่างเป็นส่วนตัวได้ การเก็บและใช้งานคุกกี้สามารถศึกษาได้ที่นโยบายการใช้คุกกี้นี้ การใช้งานเว็บไซต์นี้จะมีการจัดเก็บคุกกี้ประเภทต่าง ๆ ซึ่งท่านต้องยอมรับและยินยอมให้บริษัทฯ จัดเก็บ (เรียนรู้เพิ่มเติม)